ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กิเลสที่พระอริยประหาณ

กิเลส คือธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน เมื่อเกิดพร้อมกับนามธรรมรูปธรรมใด ก็ทำให้นามธรรมและรูปธรรมนั้น ๆ เศร้าหมองและเร่าร้อนไปด้วย กิเลสจัดได้เป็น ๓ ขั้น คือ

. วิติกกมกิเลส เป็นกิเลสที่ก้าวล่วงออกมาถึงภายนอก ก้าวล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา จนถึงกับลงมือกระทำการด้วยกาย ด้วยวาจาตามอำนาจแห่งกิเลส นั้น ๆ แล้ว วิติกกมกิเลสนี้ระงับไว้ได้ด้วยสีลวิสุทธิ อันเป็นการระงับยับยั้งไว้ได้เพียงชั่วคราวชั่วขณะที่ยังคงรักษาสีลนั้นๆ อยู่ การระงับยับยั้งเช่นนี้ เรียกว่า ตทังคปหาน เป็นการยับยั้งไว้ได้ชั่วขณะ จิตที่ยังเป็นมหากุสลอยู่กิเลสเหล่านั้นก็ไม่สามารถก่อให้เกิดกายทุจจริต หรือ วจีทุจจริตได้ในขณะนั้น

. ปริยุฏฐานกิเลส เป็นกิเลสที่ลุกขึ้นมาครอบงำจิตใจแล้ว เกิดขึ้นในมโนทวาร คือ คิดอยู่ในใจ แต่ไม่ถึงกับก้าวล่วงออกมาทางกายหรือทางวาจา ตัวเองย่อมรู้ว่ากิเลสนั้น ๆ เกิดขึ้นในใจแล้ว ส่วนผู้อื่นนั้นบางทีก็รู้ บางทีก็ไม่รู้ ปริยุฏฐานกิเลส ข่มไว้ได้ด้วยจิตตวิสุทธิ อันหมายถึง สมาธิ คือ ฌาน การระงับด้วยการข่มไว้เช่นนี้เรียกว่า วิขัมภนปหาน ข่มไว้ได้นาน ตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม

. อนุสยกิเลส มักจะเรียกกันว่า อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาครอบงำจิตใจ ซึ่งผู้อื่นและแม้แต่ตนเองก็ไม่สามารถรู้ได้ อนุสยกิเลสนี้ต้องประหาณด้วยญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ปัญญาในมัคคญาณ อันหมายถึงมัคคจิต ซึ่งมัคคจิต สามารถประหาณได้จนหมดสิ้นสูญเชื้อโดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

การยับยั้ง การข่ม การประหาณนี้จัดได้เป็น ๕ ประการ เรียกว่าประหาณ ๕ วิมุตติ ๕ ดังนี้

ปหาน ๕

วิมุตติ ๕

ได้แก่

ตทังคปหาน

วิขัมภนปหาน

สมุจเฉทปหาน

ปฏิปัสสัทธิปหาน

นิสสรณปหาน

(สีล)  ตทังควิมุตติ

(สมาธิ)  วิขัมภนวิมุตติ

(มัคค)  สมุจเฉทวิมุตติ

(ผล)  ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ

(นิพพาน)  นิสสรณวิมุตติ

พ้นชั่วคราว

พ้นด้วยการข่มไว้

พ้นเด็ดขาด

พ้นสนิท

พ้นเลย

พระอริยชั้นใด ประหาณกิเลสอะไรได้บ้างนั้น ดังนี้

กล่าวโดยอกุสลจิต ๑๒ พระโสดาบัน ประหาณ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่สัมปยุตตด้วย วิจิกิจฉา ๑ ดวง

พระสกทาคามี ไม่ได้ประหาณอกุสลจิตที่เหลือนั้นเป็น สมุจเฉท เพิ่มขึ้นอีก เป็นแต่ได้กระทำให้อกุสลที่เหลือนั้นเบาบางลง ซึ่งเรียกว่า ตนุกรปหาน

พระอนาคามี ประหาณโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวงลงได้อีก

พระอรหันต์ ประหาณอกุสลจิตที่เหลืออีก ๕ ดวง คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นอุทธัจจสัมปยุตต อีก ๑ ดวง

กล่าวโดยอกุสลกรรมบถ ๑๐ นั้น พระโสดาบัน ประหาณ ปาณาติปาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และมิจฉาทิฏฐิ

พระสกทาคามี ไม่ได้ประหาณอกุสลกรรมบถ ที่เหลือนั้นเป็น สมุจเฉทเพิ่มขึ้นอีกเป็นแต่ได้กระทำอกุสลกรรมบถ ที่เหลือนั้นให้เบาบางลงไป ซึ่งเรียกว่า ตนุกรปหาน

พระอนาคามี ประหาณ ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา และพยาบาท ลงได้อีก

พระอรหันต์ ประหาณอกุสลกรรมบถที่เหลืออีก ๒ คือ สัมผัปปลาป และ อภิชฌา

กล่าวโดยสังโยชน์ ๑๐

 

 

ตามนัยแห่งพระอภิธรรม

ตามนัยแห่งพระสูตร

พระโสดาบัน

ประหาณ

ทิฏฐิสังโยชน์  สีลัพพตปรามาส วิจิกิจฉาสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์

ทิฏฐิสังโยชน์

สีลัพพตปรามาส 

วิจิกิจฉาสังโยชน์

พระอนาคามี

ประหาณ

กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์

กามราคสังโยชน์

ปฏิฆสังโยชน์

พระอรหันต์

ประหาณ

ภวราคสังโยชน์ มานสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์

รูปราคสังโยชน์

อรูปราคสังโยชน์

มานสังโยชน์   

อุจธัจจสังโยชน์

อวิชชาสังโยชน์

ส่วนพระสกทาคามี ไม่ได้ประหาณสังโยชน์ที่เหลือจากพระโสดาบันนั้นเป็นสมุจเฉทเพิ่มขึ้นอีก เป็นแต่ได้กระทำให้สังโยชน์ที่เหลือนั้นเบาบางลง อย่างที่เรียกว่า ตนุกรปหาน


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...