ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

วิปัสสนากัมมัฏฐาน

วิปัสสนากัมมัฏฐาน แปลว่า อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจที่จะให้เห็นแจ้ง ซึ่งมีความหมายว่า ให้เห็นแจ้ง รูปนาม ให้เห็นแจ้ง ไตรลักษณ์ ให้เห็นแจ้ง อริยสัจจ ให้เห็นแจ้ง มัคค ผล นิพพาน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าต่างกับ สมถกัมมัฏฐาน ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เพราะสมถกัมมัฏฐานเป็นเพียงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจ ที่จะให้เกิดความสงบ แต่อย่างเดียวเท่านั้น ไม่ถึงกับให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง ดังที่กล่าวนี้ด้วย

บ้างก็กล่าวสั้น ๆ ว่า สมถะเป็นอุบายสงบใจ วิปัสสนาเป็นอุบายเรืองปัญญา

มีคาถาที่ ๑๒ ที่ ๑๓ ที่ ๑๔ เริ่มต้นกล่าวถึง วิปัสสนากัมมัฏฐานว่า

๑๒. วิปสฺสนา กมฺมฏฺฐาเน นโย ปน วิชฺชานโย อาทิมฺหิ สีลวิสุทฺธิ ตโต จิตฺตวิสุทฺธิ จ ฯ

๑๓. ตโต ตุ ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ กงฺขาวิตรณาปิ จ ตโต ปรํ มคฺคามคฺค ญาณทสฺสนนามิกา ฯ

๑๔. ตถา ปฏิปทาญาณ ทสฺสนา ญาณทสฺสนา อิจฺจานุกฺกมโต วุตฺตา สตฺต โหนฺติ วิสุทฺธิโย ฯ

ตามนัยแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งนั้น พึงทราบว่า ในเบื้องต้นตรัส สีลวิสุทธิ ต่อนั้นตรัส จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ และญาณทัสสนวิสุทธิ รวมวิสุทธิ ๗ ประการ ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยลำดับฉะนี้

อธิบาย

องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงวิปัสสนากัมมัฏฐานญาณอันสูงสุด รู้เห็นตามทัสสนะที่เป็นจริง ประดุจดวงอาทิตย์อุทัย ยังโลกให้สว่างฉะนั้น บรรดาสาวกของพระพุทธองค์ได้น้อมรับฐานที่ตั้งของการงานที่ให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยประการต่างๆ มาศึกษาปฏิบัติ จนประทับใจมนุษย์และเทวดาทั้งหลายเป็นอันมาก ยากที่จะหาสิ่งใดมาเปรียบปานได้ สิ่งนั้น คือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อันเป็นไปเพื่อความบริสุทธิหมดจดโดยส่วนเดียว ซึ่งเรียกว่า วิสุทธิมัคค คือทางบริสุทธิ ผู้ใดเดินทางนี้จนถึงที่สุดแล้ว ย่อมบรรลุจุดหมายปลายทาง อมตะมหานิพพาน อันเป็นที่บริสุทธิ สิ้นกิเลสและพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง

อันคำว่า มัคค หรือ ทาง มีความหมาย ๒ อย่าง คือ ปกติมคฺโค ทางปกติ ได้แก่ ทางน้ำ ทางบก เป็นต้น สำหรับคนและสัตว์เดิน และ ปฏิปทามคฺโค ทางปฏิบัติ ได้แก่ บาปบุญที่บุคคลทำ อันเป็นทางสำหรับ กาย วาจา ใจ เดิน

ปฏิปทามัคค คือทางปฏิบัตินั้น จำแนกได้เป็นหลายนัย แต่ในที่นี้ขอจำแนกว่ามี ๕ สาย คือ

. ทางสายไปอบายภูมิ ได้แก่ ความทุสีล หรืออกุสลกรรมบถ ๑๐ มี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูล

. ทางสายไปมนุษยภูมิ ได้แก่ มนุษย์ธรรม คือ รักษาสีล ๕ สีล ๘ หรือ กุสลกรรมบถ ๑๐

. ทางสายไปกามาวจรสวรรค์ ได้แก่ มหากุสลจิต ๘ ดวง ที่มีหิริและโอตตัปปะ เป็นหัวหน้า เช่น ให้ทาน ฟังธรรม แสดงธรรม เป็นต้น

. ทางสายไปพรหมโลก ได้แก่ การเจริญสมถภาวนาจนเกิดฌาน

. ทางสายไปพระนิพพาน ได้แก่ การเจริญวิปัสสนาภาวนา จนบรรลุ มัคค ผล นิพพาน

ในทาง ๕ สายนี้ สายที่ ๕ เป็นทางแห่งสันติ เป็นทางที่ให้ถึงซึ่งความ บริสุทธิหมดจด อันเรียกว่า วิสุทธิมัคค ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ทางสายที่ ๕ นี้เรียกอีกนัยหนึ่งว่า เอกายนมัคค เพราะอรรถว่า

. เป็นทางสายเดียว ที่จะให้ถึงความหมดจดได้ ไม่มีทางสายอื่นใดอีกเลย

. เป็นทางไปคนเดียว คือ ต้องละจากหมู่ไปสู่ที่สงัด ปฏิบัติแต่ผู้เดียว ใครจะมาช่วยทำให้ไม่ได้ และบรรลุแต่ผู้เดียว จะขอใครให้บรรลุตามไปด้วยไม่ได้

. เป็นทางที่ผู้เดียวค้นพบ คือ เป็นทางที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์เองแต่ผู้เดียว ไม่ใช่มีใครมาช่วยค้นหาด้วยจึงได้พบ

. เป็นทางแห่งเดียว คือ มีอยู่ในพระพุทธศาสนาแต่แห่งเดียวเท่านั้น มิได้มีในศาสนาอื่นใดอีกเลย

. เป็นทางไปสู่จุดหมายเดียว คือ ไปสู่พระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น ไม่ไปสู่จุดอื่นใดอีกเลย


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...