ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
โคตรภูญาณ
๓๑.
โคตฺรภูจิตฺตํ
นิพฺพานํ อาลมฺพิตฺวา ตโต ปรํ
ปุถุชฺชนโคตฺตํ อภิ ภวนฺตํ
อริยตฺตนํ สมฺโพชฺฌาวหนํ อภิ
สมฺโภนฺตญฺจ ปวตฺตติ
เบื้องหน้าแต่นั้น
โคตรภูจิตจึงหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
ครอบงำเสียซึ่งโคตรปุถุชน
บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคล
อันนำมาซึ่งความตรัสรู้ มัคค ผล
นิพพาน
มีความหมายว่า
เมื่อจิตของพระโยคีตั้งอยู่แล้วในอนุโลมญาณ
ต่อจากนั้นก็ก้าวขึ้นสู่โคตรภูญาณ
ทำหน้าที่โอนจากโคตรปุถุชน
ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส
ไปสู่โคตรอริยชนที่ห่างไกลจากกิเลส
กล่าวโดยวิถีจิต
เมื่ออนุโลมชวนะ
ซึ่งมีไตรลักษณ์
คือความเกิดดับแห่งรูปนามเป็นอารมณ์นั้นดับไปแล้ว
ก็เป็นปัจจัยให้เกิดโคตรภูจิต
ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์
นำมาซึ่งปัญญาที่รู้ยิ่งในสันติลักษณะ
คือ พระนิพพาน
ตามลำดับแห่งวิถีจิตที่ชื่อว่า
มัคควิถี ดังภาพนี้
มัคควิถี
ของ มันทบุคคล ผู้รู้ช้า
กามชวนะ
อัปปนาชวนะ
มหากุสล
ญาณสัมปยุตต ๔
โลกุตตรจิต
๘
น ท
มโน บริ อุป อนุ โค
มัคค ผล ผล
ภ
มีไตรลักษณ์แห่งรูปนาม
มีนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นอารมณ์
อนุโลมญาณ
มัคคญาณ
น ท
มโน บริ อุป
อนุ โค มัคค ผล
ผล ภ
โคตรภูญาณ
ผลญาณ
มัคควิถีของติกขบุคคล
ผู้มีปัญญาไว
กามชวนะ
อัปปนาชวนะ
มหากุสล
ญาณสัมปยุตต ๔
โลกุตตรจิต
๘
น ท
มโน อุป อนุ โค
มัคค ผล ผล
ผล ภ
มีไตรลักษณ์แห่งรูปนาม
มีนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นอารมณ์
อนุโลมญาณ
มัคคญาณ
น ท
มโน อุป อนุ โค
มัคค ผล ผล
ผล ภ
โคตรภูญาณ
ผลญาณ
อักษรย่อ
น=ภวังคจลนะ,
ท=ภวังคุปัจเฉทะ,
มโน=มโนทวาราวัชชนะ,
บริ=บริกรรม,
อุป=อุปจาระ,
อนุ=อนุโลม,
โค=โคตรภู,
ภ=ภวังค
โคตรภูจิต
แม้ว่าจะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
แต่ก็ยังปราบกิเลสให้เป็นสมุจเฉทไม่ได้
เพราะจิตยังเป็นโลกียจิตอยู่
หาใช่โลกุตตรจิตไม่
เหตุนี้จึงเรียกโคตรภูจิตว่าเป็น
เอกวุฏฐาน
คือ ออกได้แต่ส่วนเดียว
ออกจากอารมณ์ที่เป็นสังขาร
ออกจากอารมณ์ที่เป็นโลกียธรรม
ไปมีอารมณ์เป็นโลกุตรธรรม คือ
พระนิพพาน
แต่อีกส่วนหนึ่งคือจิตยังหาได้ออกจากโลกียจิต
เป็นโลกุตตรจิตไม่
ยังคงเป็นโลกียจิตอยู่ตามเดิม
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ