ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
ปฏิปทา
๔ ประการ
อีกนัยหนึ่ง
ท่านจำแนกพระอริยเจ้าไว้โดยอาศัยการปฏิบัติเป็นหลักในการจำแนก
เป็น ๔ ประการ คือ
๑.
ทุกฺขา
ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา
ปฏิบัติด้วยความลำบาก
ทั้งรู้ได้ช้า
๒.
ทุกฺขา
ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา
ปฏิบัติด้วยความลำบาก
แต่รู้ได้เร็ว
๓.
สุขา
ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา
ปฏิบัติได้สะดวก
แต่รู้ได้ช้า
๔.
สุขา
ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา
ปฏิบัติได้สะดวก
ทั้งรู้ได้เร็ว
ประเภทที่
๑ ปฏิบัติด้วยความลำบาก
ทั้งรู้ได้ช้า เช่น
พระจักขุปาลเถระ
ท่านถือเนสัชชิกธุดงค์
ไม่นอนตลอดพรรษา จนจักษุบอด
ได้ความยากลำบากไม่น้อยเลย
ทั้งได้บรรลุธรรมพิเศษก็ช้ากว่าพวกสหาย
ประเภทที่
๒ ปฏิบัติด้วยความลำบากก็จริง
แต่ว่ารู้ธรรมพิเศษได้เร็ว
เช่นพระภิกษุผู้ถูกเสือกัด
ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส
จึงเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานจนสำเร็จอรหัตตมัคคอรหัตตผล
ในขณะที่อยู่ในปากเสือ
พอสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็เข้าสู่ปรินิพพานเลย
อย่างที่เรียกว่า ชีวิตสมสีสี
ประเภทที่
๓ ปฏิบัติด้วยความสะดวกสบาย
แต่กว่าจะรู้ธรรมพิเศษก็เสียเวลาช้ามาก
เช่น พระจูฬปัณถก
เรียนกัมมัฏฐานที่ไม่ถูกไม่เหมาะแก่จริตมาเป็นเวลาช้านาน
ก็มิได้บรรลุธรรมพิเศษเลย
จนภายหลังจึงกำหนดกัมมัฏฐานที่ถูกกับจริต
ก็บรรลุธรรมพิเศษได้ในเวลาไม่นาน
ประเภทที่
๔ ปฏิบัติด้วยความสะดวกสบาย
ทั้งรู้ธรรมพิเศษได้โดยเร็วด้วย
เช่น พระพาหิยะ
ผู้ได้ฟังพระธรรมเทสนาของพระศาสดาในระหว่างทางที่พระพุทธเจ้าทรงออกบิณฑบาต
ก็ได้บรรลุธรรมพิเศษ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ