ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ปัจจเวกขณญาณ

๓๖. มคฺคํ ผลญฺจ นิพฺพานํ ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต ปหีเน เกฺลส เสเส จ ปจฺจเวกฺขนฺติ วา น วา ฯ

บัณฑิต ย่อมพิจารณาซึ่ง  มัคคธรรม ผลธรรม นิพพานธรรมแน่นอน แต่พระอริยบุคคลบ้างก็พิจารณา บ้างก็ไม่พิจารณา ซึ่งกิเลสทั้งหลาย อันตนละแล้ว และที่ยังคงเหลืออยู่

คำว่า บัณฑิต ในที่นี้หมายเฉพาะพระอริยเจ้าเท่านั้น

เมื่อมัคควิถีสิ้นสุดลง และมีภวังคตามสมควรแล้ว ต้องมีปัจจเวกขณวิถีติดต่อกันไป เพื่อทำหน้าที่พิจารณา มัคค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่ รวมพิจารณา ๕ ประการด้วยกัน

ปัจจเวกขณญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาให้รู้เห็นตามสภาพธรรมที่เป็นจริงนี้ เป็นมโนทวารวิถี มีมโนทวาราวัชชนจิตเป็นจิตนำวิถี แล้วมหากุสลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง สำหรับพระเสกขบุคคล หรือ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง สำหรับพระอเสกขบุคคล ดวงใดดวงหนึ่งก็เกิดทำกิจชวนะ ๗ ขณะ พิจารณาให้เกิดปัจจเวกขณญาณ

. ให้แจ้งในมัคคจิตที่ตนได้ประสบมาเมื่อกี้นี้อย่างหนึ่ง

. ให้แจ้งในผลจิตอย่างหนึ่ง

. ให้แจ้งในพระนิพพานอย่างหนึ่ง

. ให้แจ้งในกิเลสที่ละแล้วอย่างหนึ่ง

. ให้แจ้งในกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่อย่างหนึ่ง

การพิจารณา มัคค ผล นิพพาน รวม ๓ ประการนี้ จะต้องมีแน่นอน ส่วนลำดับแห่งการพิจารณานั้น ไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์ว่าจะต้องพิจารณา มัคคก่อน หรือผลก่อน หรือนิพพานก่อน จะพิจารณาอะไรก่อนก็ได้ แต่ข้อสำคัญนั้นต้อง พิจารณาครบทั้ง ๓ ประการนี้ อย่างแน่นอน

สำหรับการพิจารณากิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่รวม ๒ ประการนี้ จะพิจารณาได้เฉพาะพระอริยเจ้าที่ได้ศึกษาพระปริยัติ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระปริยัติก็ไม่มีความรู้พอที่จะพิจารณาได้ ดังนั้นการพิจารณา ๒ ประการหลังนี้ จึงกล่าวว่าไม่แน่นอน บ้างก็พิจารณา บ้างก็ไม่พิจารณา

อนึ่งการพิจารณากิเลสที่ยังคงเหลือนั้นเฉพาะผู้ที่บรรลุมัคคจิตครั้งที่ ๔ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ต้องมีการพิจารณา เพราะพระอรหันต์ไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลย จึงคงพิจารณาเพียง ๔ ประการ คือ มัคค ผล นิพพาน และกิเลสที่ละแล้วเท่านั้น

รวมปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลังมัคควิถีนั้น ถ้าคิดจำนวนอย่างเต็มที่ ก็ได้ ๑๙ ประการ คือ

ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง                       โสดาปัตติมัคควิถี             มี           ประการ

ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง                       สกทาคามิมัคควิถี             มี           ประการ

ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง                       อนาคามิมัคควิถี               มี           ประการ

ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง                       อรหัตตมัคควิถี               มี           ประการ


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...