ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญากัมมัฏฐาน
๑.
กัมมัฏฐานบทนี้เป็นการพิจารณาอาหารด้วยความเป็นปฏิกูล
พิจารณาโดยอาการ ๙ นัย คือ
(๑)
โดยการไปหา
ก็ต้องเหยียบย่ำไปในสิ่งปฏิกูล
บางทีถึงกับต้องท่องน้ำย่ำโคลนเลอะเทอะน่าเกลียด
(๒)
โดยการบริโภค
ต้องเจือปนกับน้ำลายและมูลฟัน
ถ้าเคี้ยวอาหารนั้นแล้วคายออกมาดูก็จะเห็นว่าน่าเกลียดมาก
(๓)
โดยที่อยู่
เมื่อกลืนอาหารล่วงลำคอไปแล้ว
ก็ไปอยู่ปนกับน้ำลาย น้ำเหลือง
น้ำดี น้ำเลือด
ล้วนเป็นสิ่งปฏิกูลด้วยกันทั้งนั้น
(๔)
โดยเป็นของหมักหมม
เพราะบริโภคเพิ่มเติมอยู่ทุกวันตลอดอายุ
และไม่มีการชำระล้างลำไส้หรือกระเพาะแต่อย่างใด
ๆ เลย
ปล่อยให้หมักหมมอยู่ไม่รู้ว่ากี่ปี
(๕)
โดยยังไม่ทันย่อย
เมื่ออาหารที่กลืนกินเข้าไปนั้นยังไม่ทันย่อย
อาจบูดเหม็น
เพราะปะปนกันจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
(๖)
โดยย่อยแล้ว
ก็เหลือแต่กาก ที่จะถ่ายออกมา
แต่เมื่อยังไม่ทันถ่ายออก
ถ้ามองแลเห็นคงจะขยะแขยงไม่น้อย
(๗)
โดยผลของอาหาร
อาหารส่วนมากย่อมสำเร็จผลมาจากเนื้อสัตว์
ซึ่งเท่ากับว่าบริโภคทรากอสุภะ
อันเป็นสิ่งปฏิกูลทั้งนั้น
(๘)
โดยการหลั่งใหล
ขณะบริโภคเข้าไป
กระทำโดยเปิดเผย
มีความชื่นชมยินดี ร่าเริง
และบริโภคทางปากช่องเดียว
แต่เมื่อเวลาไหลออกมา
ไหลออกมาเป็นหลายทาง เป็นขี้ไคล
ขี้ตา ขี้หู เป็นอุจจาระ ปัสสาวะ
ล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล
จึงต้องกระมิดกระเมี้ยน
และมีความสะอิดสะเอียนมาก
(๙)
โดยความเปรอะเปื้อน
ในเวลาบริโภคก็เปรอะเปื้อน
อย่างน้อยก็เปื้อนปาก เปื้อนมือ
และในเวลาไหลออก
ยิ่งเปื้อนเปรอะเลอะเทอะใหญ่
ล้วนแต่ปฏิกูลทั้งเข้าทั้งออก
๒.
เมื่อได้กำหนดพิจารณาดังนี้
จะเห็นได้ว่า กพฬีการาหาร คือ
อาหารที่กลืนกินเข้าไปล้วนแต่ปฏิกูล
ยิ่งเห็นความปฏิกูลปรากฏชัดเท่าใด
ก็จะคลายความกำหนัดยินดีในการบริโภค
ไม่บริโภคด้วยความอยาก
ด้วยหวังความเอร็ดอร่อย
แต่บริโภคเพื่อบรรเทาความทุกข์เวทนาที่เกิดจากความหิว
ดังที่ว่ากันเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่า
อยากอย่ากิน
หิวจึงกิน
๓.
การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญากัมมัฏฐานนี้
อย่างมากก็ได้เพียงอุปจารภาวนาเท่านั้น
ไม่สามารถที่จะถึงอัปปนาภาวนา
คือถึงฌานได้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ