ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. เนกขัมมบารมี

กามภเวหิ นิกฺขมฺมนจิตฺตุปฺปาโท เนกฺขมฺมปารมิตา ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา)

จิตตุปปาท ที่ใคร่พ้นจากกามและภพนั้น เรียกว่า เนกขัมมบารมี

จิตที่ใคร่พ้นจากกามนั้น คำว่า กาม ในที่นี้จำแนกเป็น ๒ ประการ

. วัตถุกาม หมายถึง อารมณ์ที่อยู่ในภพทั้ง ๓ คือ อารมณ์ ๖ นั้นเอง ซึ่งมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสถูกต้อง และความนึกคิด

. กิเลสกาม หมายถึง เครื่องเศร้าหมอง และเร่าร้อน รวมยอดแล้ว มี ๓ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ

จิตที่ใคร่พ้นจากกามนั้น คำว่า ภพ ในที่นี้จำแนกเป็น ภพ ๓ คือ

. กามภพ   ได้แก่        กามภูมิ ๑๑ ภูมิ

. รูปภพ     ได้แก่        รูปภูมิ ๑๖ ภูมิ

. อรูปภพ   ได้แก่        อรูปภูมิ ๔ ภูมิ

เนกขัมมะ ความใคร่หลุดพ้นนั้น ก็จำแนกได้เป็น ๓ เหมือนกัน คือ

. ปัพพัชชะ ออกบวช (=ทั่ว+วช=เว้น)

. เพื่อเจริญสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา

. เพื่อให้ถึงซึ่งความหลุดพ้น คือ พระนิพพาน

เนกขัมมบารมี ย่อมมีทานบารมีเป็นเครื่องอุปการะ กล่าวคือ บุคคลบางคนมี สัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอยากจะสละเวลามาถือสีล ฟังธรรม เล่าเรียนศึกษาธรม แต่ก็ติดขัดเพราะไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอ ต้องทำมาหากินตัวเป็นเกลียว ก็ยังไม่ใคร่จะคุ้มปากคุ้มท้อง ทั้งนี้เป็นเพราะไม่ได้สร้างสมทานบารมีมาแต่ปางก่อน ในชาตินี้จึงต้องยากจน ถ้าเป็นผู้ที่ได้สร้างสมทานบารมีมาพอควร ก็จะไม่ถึงกับขัดสน ไปฟังเทศน์ศึกษาธรรมได้สะดวก อันจะเป็นเหตุให้เกิดสติปัญญาเห็นโทษในการหมกมุ่นอยู่ในกามคุณ มีความเบื่อหน่ายต่อความเป็นอยู่ในทางโลก สละบ้านเรือนอันเป็นสมบัตินอกกาย ไปแสวงหาทรัพย์ภายใน คือ การออกบวชเรียน บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่พระศาสนาสืบไป

กามโต จ ภวโต จ นิกฺขมฺมลกฺขณา เนกฺขมฺมปารมี ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา)

เนกขัมมบารมี ย่อมมีการใคร่พ้นจากกามและภพ เป็นลักษณะ

ในบรรดาบารมี ๑๐ ทัส จัดว่า เนกขัมมบารมีนี้เป็นหัวใจของบารมี ด้วยเหตุผลประการใดจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...