ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. อธิฏฐานบารมี

อจล สมาทานาธิฏฺฐานํ ตทาการปวตฺโต จิตฺตุปฺปาโท อธิฏฺฐานปารมิตา ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา)

จิตตุปปาทะ ที่ตั้งใจแน่นอนในการกระทำนั้น เรียกว่า อธิฏฐานบารมี

ท่านอรรถกถาจารย์ ได้จำแนกการ อธิฏฐาน คือ การตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้านี้ไว้ ๔ ประการ คือ

. สัจจาธิฏฐาน เป็นความตั้งใจอันแน่นอนเพื่อรู้แจ้งแทงตลอดในสัจจธรรม ๔ ประการ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ และอัฏฐังคิกมัคค

. จาคาธิฏฐาน  เป็นความตั้งใจอันแน่นอนที่จะสละละทิ้งกิเลสให้หมดไปจากตนอย่างเด็ดขาด

. อุปสมาธิฏฐาน    เป็นความตั้งใจอันแน่นอนเพื่อให้บรรลุถึงซึ่งพระนิพพาน

. ปัญญาธิฏฐาน เป็นความตั้งใจอันแน่นอนเพื่อให้แจ้ง อนาวรณญาณ (=ไม่, อาวรณ=ห่วงใย ปิดบัง, ญาณ=ความรู้) ซึ่งหมายถึง พระสัพพัญญุตญาณ อันเป็นญาณที่รู้สิ้นปวงสังขตธรรมและอสังขตธรรม

อธิฏฐานประการที่ ๔ ย่อมมีได้เฉพาะ สัมมาสัมโพธิญาณเท่านั้น ที่เหลืออีก ๓ ประการ เป็นสาธารณะทั้ง สัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และสาวกโพธิญาณ (อัคคสาวก, มหาสาวก และ ปกติสาวก)

พึงเห็นได้ว่า อธิฏฐาน ทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นการตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้าแน่นอน ในอันที่จะให้บรรลุถึงซึ่งพระนิพพาน

ผู้มีทรัพย์ เมื่อได้ตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้าว่าจะบำเพ็ญกุสลอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ย่อมกระทำตามความตั้งใจนั้นได้โดยสะดวก ไม่ใคร่มีอุปสรรคข้อขัดข้องให้ต้องเลิกล้มความตั้งใจนั้น ๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ที่ขัดสนจนยาก   แม้จะตั้งความ ปรารถนาอย่างแรงกล้าว่าจะกระทำกุสล ก็มักจะขัด ๆ ข้อง ๆ เพราะต้องมีกังวลในการขวนขวายประกอบการเลี้ยงชีพอยู่ ทานจึงเป็นส่วนหนึ่งที่อุปการะให้การอธิฏฐานนั้นเป็นผลสำเร็จ

อนึ่งมีข้อที่ควรกล่าวว่า อธิฏฐานบารมีนี้ จะต้องเกิดร่วมกับบารมีอื่น ๆ เสมอ เพราะลำพังแต่อธิฏฐานบารมีอย่างเดียว ย่อมสำเร็จประโยชน์ไปไม่ได้ เช่น เพียงแต่ตั้งใจว่าจะทำ แต่ไม่ได้ลงมือทำสักที อย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นอธิฏฐานบารมี เพราะอธิฏฐานบารมีนั้นต้องประกอบไปด้วยอาการ ๒ อย่าง คือมี ความปรารถนาอย่างแรงกล้าด้วย และมีการกระทำทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ให้สำเร็จสมความตั้งใจนั้นด้วย อย่างนี้จึงจัดว่าเป็น อธิฏฐานบารมี

โพธิสมฺภาเวสุ อธิฏฺฐานลกฺขณา อธิฏฺฐานปารมี ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา)

อธิฏฐานบารมี ย่อมมีการตั้งใจอันแน่นอนเพื่อโพธิญาณ เป็นลักษณะ


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...