ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
มัคคญาณและผลญาณเบื้องต้น
ในวิสุทธิ
๗ และญาณ ๑๖ ที่กล่าวมาแล้วนี้
แสดงถึงการเกิดขึ้นของมัคคญาณเป็นครั้งแรก
ที่เรียกว่า โสดาปัตติมัคคญาณ
หรือ ปฐมมัคค เท่านั้น
ยังมีมัคคญาณ ผลญาณ เบื้องบนอีก
ดังมีคาถาที่ ๓๗ แสดงว่า
๓๗.
ฉพฺพิ
สุทฺธิกฺกเมเนวํ ภาเวตพฺโพ
จตุพฺพิโธ ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ นาม
มคฺโค ปวุจฺจติ ฯ
อริยมัคคทั้ง
๔
จะพึงมีขึ้นโดยต่อจากลำดับแห่งวิสุทธิทั้ง
๖ นี้ เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ
ได้กล่าวมาข้างต้นครั้งหนึ่งแล้วว่า
ญาณทัสสนวิสุทธินั้น ได้แก่
มัคคญาณโดยตรงแต่ญาณเดียวเท่านี้เอง
และมัคคญาณก็มีถึง ๔ ขั้น คือ
๑.
ปฐมมัคค
ได้แก่ โสดาปัตติมัคคญาณ
เป็นปัจจัยให้เกิดโสดาปัตติผลญาณ
โดยไม่มีระหว่างคั่น
สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
๒.
ทุติยมัคค
ได้แก่ สกทาคามิมัคคญาณ
เป็นปัจจัยให้เกิดสกทาคามิผลญาณ
โดยไม่มีระหว่างคั่น
สำเร็จเป็นพระสกทาคามี
๓.
ตติยมัคค
ได้แก่
อนาคามิมัคคญาณ
เป็นปัจจัยให้เกิดอนาคามิผลญาณ
โดยไม่มีระหว่างคั่น
สำเร็จเป็นพระอนาคามี
๔.
จตุตถมัคค
ได้แก่ อรหัตตมัคคญาณ
เป็นปัจจัยให้เกิดอรหัตตผลญาณ
โดยไม่มีระหว่างคั่น
สำเร็จเป็นพระอรหันต์
มัคคญาณทั้ง
๔ นี้เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ
อันเป็นวิสุทธิลำดับที่ ๗
ซึ่งเป็นลำดับสุดท้ายนี้ย่อมเกิดขึ้นภายหลังจากปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
อันเป็นวิสุทธิลำดับที่ ๖
บัดนี้จะได้กล่าวถึงการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อให้บรรลุถึงมัคคญาณ
ผลญาณ เบื้องบน ๆ นั้นต่อไป
ผู้ที่ผ่านปฐมมัคคเป็นพระโสดาบันแล้ว
เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
เพื่อให้บรรลุมัคคเบื้องบน คือ
ทุติยมัคค
เป็นพระสกทาคามีต่อไปนั้น
ให้เริ่มกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์
ความเกิดดับของรูปนามตามนัยแห่งอุทยัพพยญาณ
อันเป็นวิปัสสนาญาณต้นแห่งวิปัสสนาญาณ
๙ นั้นทีเดียว
ต่อจากนั้นก็กำหนดพิจารณาไปตามลำดับญาณ
จนกว่าจะบรรลุถึงมัคคญาณ
ผลญาณและปัจจเวกขณญาณ
อันเป็นญาณสุดท้าย
ผู้ที่ผ่านทุติยมัคคเป็นพระสกทาคามีแล้วก็ดี
ผู้ที่ผ่านตติยมัคคเป็นพระอนาคามีแล้วก็ดี
เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อให้บรรลุมัคคเบื้องบน
ก็ให้ถึงเริ่มต้นที่อุทยัพพยญาณ
เช่นเดียวกัน
กล่าวถึงวิถีจิต
มัคควิถีของพระโสดาบัน
ที่บรรลุสกทาคามิมัคคก็ดี
มัคควิถีของพระสกทาคามีที่บรรลุถึง
อนาคามิมัคคก็ดี
และมัคควิถีของพระอนาคามีที่บรรลุถึง
อรหัตตมัคคก็ดี
เหมือนกับมัคควิถีของติเหตุกบุคคลที่บรรลุโสดาปัตติมัคค ดังที่ได้แสดงไว้ข้างต้น
(หน้า
๑๐๓)
นั้นทุกประการ
ผิดกันนิดหนึ่งตรงที่ว่า โคตรภู
นั้นไม่เรียก โคตรภู แต่เรียกว่า
โวทาน เท่านั้นเอง
ที่ไม่เรียก
โคตรภู
เพราะไม่ต้องเปลี่ยนโคตรใหม่
ด้วยว่าเป็นโคตรอริยเหมือนกันอยู่แล้ว
และที่เรียก โวทาน ซึ่งแปลว่า
บริสุทธิ หรือผ่องแผ้วนั้น
มีความหมายว่า
พระสกทาคามีมีธรรมที่บริสุทธิกว่า
ผ่องแผ้วกว่า พระโสดาบัน
พระอนาคามี
ก็มีธรรมที่บริสุทธิยิ่งกว่า
ผ่องแผ้วยิ่งกว่าพระสกทาคามี
ส่วนพระอรหันต์นั้น
เป็นผู้ที่ขาวสะอาดบริสุทธิหมดจดผ่องแผ้วด้วยประการทั้งปวง
อนึ่ง
ข้อความที่ว่าผู้เจริญเพื่อให้บรรลุมัคคญาณ
ผลญาณ เบื้องบนให้เริ่มที่
อุทยัพพยญาณทีเดียวนั้น
เพราะเหตุว่า
เป็นผู้ที่ผ่านปฐมมัคคแล้ว
เป็นพระโสดาบันแล้ว
เป็นผู้ที่มั่นในสีล ๕ แน่นอน
จึงชื่อว่าเป็นผู้มีสีลวิสุทธิแล้ว
เป็นผู้มีสมาธิดีแล้ว
จึงผ่านญาณต่าง ๆ
มาได้โดยตลอดรอดฝั่ง
จึงได้ชื่อว่ามี
จิตตวิสุทธิแล้ว
เป็นผู้ที่ได้ผ่าน
นามรูปปริจเฉทญาณมาแล้ว
เคยประจักษ์แจ้งในรูปนามมาแล้ว
จึงได้ชื่อว่ามี ทิฏฐิวิสุทธิ
แล้ว
เป็นผู้ที่ได้ผ่าน
ปัจจยปริคคหญาณมาแล้ว
รู้แจ้งในปัจจัยที่ให้เกิดรูปเกิดนามมาแล้ว
หมดความสงสัยในรูปนาม
หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา
จึงได้ชื่อว่า
กังขาวิตรณวิสุทธิ แล้ว
ทั้งยังได้ผ่าน
สัมมสนญาณ
ที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์
โดยเห็นความเกิดของรูปนาม
จึงอาศัยจินตาญาณทำให้รู้ว่ารูปนามก่อนนั้นดับไปแล้ว
ซึ่งเป็นส่วนเดียวในการเห็นทั้งความเกิดและความดับ
ญาณนี้จึงได้ชื่อว่า
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
อันเป็นญาณที่ไตร่ตรองว่าใช่ทางที่ชอบ
หรือมิใช่กันแน่
ดังนั้นจึงให้เริ่มที่
อุทยัพพยญาณ
อันเป็นญาณต้นที่ตัดสินได้เด็ดขาดแล้วว่า
นี่เป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
นี่เป็นทางปฏิบัติอันถูกต้องแล้วที่จะให้ถึงซึ่งความดับทุกข์
ที่ตัดสินได้เด็ดขาด
เช่นนี้เพราะ
๑.
อุทยัพพยญาณ
เป็นญาณที่ปราศจากความวิปลาสคลาดคลื่อนแล้ว
๒.
เป็นญาณที่ไม่ได้อาศัยปริยัติมาเป็นเครื่องให้รู้
แต่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากปฏิปทา
คือ
การปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างแท้จริง
๓.
เป็นญาณที่ประจักษ์ในขณะเกิดขณะดับ
อย่างที่เราเรียก
รู้ทันปัจจุบัน
ไม่ได้อาศัยกาลเวลาอย่างสัมมสนญาณมาเป็นเครื่องให้รู้
๔.
เป็นญาณที่รู้แจ้งชัดจริงอย่างที่เรียกว่า
ประจักขสิทธิ
โดยไม่ได้อาศัยจินตาญาณอย่างสัมมสนญาณ
๕.
เป็นญาณต้นของวิปัสสนาญาณในชั้นโลกีย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ