ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ข้อที่ควรปฏิบัติในการเจริญกัมมัฏฐาน

นอกจากต้องปฏิบัติตามนัยที่ตรงกันข้ามกับข้อที่ควรเว้น เช่น ประกอบแต่กิจที่เพ่งกัมมัฏฐานโดยไม่ประกอบกิจอื่น ตั้งใจกำหนดโดยไม่คุยกับผู้อื่น เป็นต้น ทั้ง ๗ ข้อนั้นแล้ว ยังมีข้อที่ควรปฏิบัติอยู่อีกมากมายหลายประการ ที่สำคัญอันควรยกขึ้นมากล่าวในที่นี้นั้น ได้แก่

. ต้องมีขันติ มีความอดทนพร้อมทั้ง ๓ ประการ คือ

          . อดทนต่อความยากลำบาก

          . อดทนต่อทุกขเวทนา

          . อดทนต่อความเย้ายวนของกิเลส

. เพื่อให้ขันติธรรมนั้นสมบูรณ์ จะต้องตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการเจริญกัมมัฏฐานว่า แม้เนื้อจะเหือด เลือดจะแห้ง คงเหลือแต่ หนัง เอ็น กระดูก ก็จะไม่ท้อถอยละเลิกไป จนกว่าจะบรรลุถึงธรรมที่กำลังบำเพ็ญเพียรอยู่นี้

. เพื่อให้สมประสงค์ตามข้อ ๒ จะต้องกระทำอินทรียให้เสมอกัน คือ สัทธากับปัญญาจะต้องเสมอกันคู่หนึ่ง วิริยะกับสมาธิอีกคู่หนึ่งนี้ก็จะต้องให้เสมอกันด้วย ทั้งนี้เพราะ

          ถ้าสัทธา       กล้า      ก็ทำให้เชื่ออย่างงมงาย ไม่คำนึงถึงเหตุผล

          สัทธา         อ่อน     ก็ทำให้ความเลื่อมใสน้อยเกินควร ชวนจะให้เลิกปฏิบัติ

          ปัญญา        กล้า      ทำให้คิดออกนอกลู่นอกทาง

          ปัญญา        อ่อน     ทำให้ไม่เข้าถึงเหตุผลตามความเป็นจริง

          วิริยะ         กล้า      ทำให้คิดพล่าน ฟุ้งซ่านไป

          วิริยะ         อ่อน     ทำให้เกียจคร้าน

          สมาธิ         กล้า      ทำให้ติดในความสุขนั้นเสีย

          สมาธิ         อ่อน     ทำให้ไม่ถึงอุปจารภาวนา อัปปนาภาวนา

          ส่วน สติไม่มีเกิน มีแต่ขาดอยู่ร่ำไป

เมื่อได้กล่าวมาถึงเพียงนี้ นับว่ามีพื้นพอที่จะลงมือเริ่มปฏิบัติได้แล้ว ในชั้นต้นนี้ จะกล่าวถึง วิธีเจริญสมถกัมมัฏฐาน แต่โดยย่อพอเป็นสังเขปต่อไป



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...