ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
อุทยัพพยญาณ
อุทยัพพยญาณ
เป็นญาณที่ ๔ แห่งโสฬสญาณ
และเมื่อนับว่า วิปัสสนาญาณ มี ๙
ตามนัยแห่งคาถาที่ ๒๗
ข้างบนนี้แล้ว ก็เป็นญาณที่ ๑
แห่งวิปัสสนาญาณ ๙
อันเป็นญาณที่แจ้งไตรลักษณ์
ด้วยการพิจารณาจนเห็นความเกิดดับของรูปนาม
เมื่อเห็นอนิจจัง
เพราะรูปนามนี้ดับไป ๆ
สันตติก็ไม่สามารถที่จะปิดบังไว้ให้คงเห็นเป็นนิจจังไปได้
ดังนั้นจึงประหาณมานะเสียได้
เมื่อเห็นทุกขัง
เพราะรูปนามนี้ดับไป ๆ
อิริยาบถก็ไม่สามารถที่จะปิดบังไว้ให้คงเห็นเป็นสุขไปได้
ดังนั้นจึงประหาณตัณหาเสียได้
เมื่อเห็นอนัตตา
เพราะรูปนามนี้ดับไป ๆ
ฆนสัญญาก็ไม่สามารถที่จะปิดบังไว้ให้คงเห็นเป็นอัตตาไปได้
ดังนั้นจึงประหาณทิฏฐิเสียได้
อุทยัพพยญาณ
นี้เท่ากับอารมณ์ ๓
ญาณข้างต้นรวมกันมาเป็นปัจจัย
ให้เกิด อุทยัพพยญาณ กล่าวคือ
นามรูปปริจเฉทญาณ
เป็นญาณที่ให้เกิดปัญญาเห็นรูปและนาม
ว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน
ปัจจยปริคคหญาณ
เป็นญาณที่ให้เกิดปัญญาเห็นปัจจัยที่ให้เกิดรูปและเกิดนาม
สัมมสนญาณ
เป็นญาณที่เห็นการเกิดของรูปนาม
จึงได้เกิดปัญญารู้ขึ้นมาว่ารูปนามก่อนนี้นั้นได้ดับไปแล้ว
ครั้นถึง
อุทยัพพยญาณนี้
จึงทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งทั้งความเกิดและความดับของรูปนาม
และต่อไปก็จะเป็นภังคญาณ
เป็นญาณที่เห็นแต่ความดับของรูปนามแต่ถ่าย
เดียว
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ