ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
สีลวิสุทธิ
และ จิตตวิสุทธิ
การกะบุคคล
ผู้ตั้งอยู่ในสีลอันบริสุทธิแล้ว
เจริญอยู่ซึ่ง สมถะ และ
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ตามสมควรยังอุปจารสมาธิ
หรืออัปปนาสมาธิให้บังเกิดขึ้นแล้ว
เป็นผู้มีจิตมั่นคง (จิตตวิสุทธิ)
มีความหมายว่า
การกะ
แปลว่า ผู้กระทำ
บุคคลผู้กระทำความเพียรเพื่อ
บริสุทธิหมดจดจากกิเลส คือ
พระโยคี หรือ พระโยคาวจร
ไปสู่สปายสถาน
ที่ปฏิบัติอันเป็นที่สบาย
มีอุตุดินฟ้าอากาศเหมาะสม
เป็นอารามที่รื่นรมย์
บริบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร
ไม่ฝืดเคือง มีกัลยาณมิตร
และผู้อุปถัมภ์ ตลอดธรรมอันเป็น
สปายะ
เหมาะแก่การปฏิบัติอันเป็นไปด้วย
กถาวัตถุ สิ่งที่ควรพูด
เมื่อเข้าสู่สปายสถานแล้ว
น้อมตนหาอาจารย์ผู้เป็นกัลยาณมิตร
มอบกายถวายอัตตภาพให้เป็นผู้ควรแก่การอบรมสั่งสอน
ต่อจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของกัลยาณมิตร
จะพึงให้การอบรม
โดยมุ่งหวังให้ถึงความบริสุทธิหมดจดจากกิเลส
และดับทุกข์โดยสิ้นเชิงเป็นประการสำคัญ
เบื้องต้น
พระโยคี
พึงตั้งอยู่ในวิสุทธิมัคค
ลำดับที่ ๑ คือ สีลวิสุทธิ
ความบริสุทธิแห่งสีล
สีลสมฺปนฺโนติ
จาตุปาริสุทฺธิสีล
สมฺปทายสมฺปนฺโน
(วิสุทธิมัคค
มหาฎีกา)
บุคคลที่สมบูรณ์ด้วย
จตุปาริสุทธิสีลนั้น
ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยสีล
จตุปาริสุทธิสีล
สีลที่บริสุทธิ ๔ ประการนั้น
ได้แก่
๑.
ปาฏิโมกฺขสํวรสีล
การระวังรักษา กาย วาจา
ตามปาฏิโมกข โดยการสมาทาน
แล้วตั้งอยู่ในวิรัติ
เจตนางดเว้น ไม่ล่วงสีล ๕ สีล ๘
สำหรับฆราวาส ถ้าเป็นบรรพชิต
ก็ให้ตั้งอยู่ในสีล ๑๐ หรือ สีล
๒๒๗ ตามควรแก่ฐานะ
๒.
อินฺทริยสํวรสีล
พึงสำรวมระวังอินทรียทั้ง
๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เว้นกั้นไม่ให้ บาป อกุสล
เกิดขึ้นได้
๓.
อาชีวปาริสุทฺธิสีล
รักษากาย
วาจา
เว้นจากการทำการพูดเนื่องด้วยมิจฉาชีพ
เลี้ยงชีวิต มีความเป็นอยู่
ด้วยความบริสุทธิ
ขณะพูดให้มีสติรู้ทันทุกคำพูด
ขณะทำการงานมี เดิน ยืน นั่ง นอน
คู้ เหยียด
เคลื่อนไหวกายให้มีสติรู้ทันทุกอิริยาบถน้อยใหญ่
ขณะเลี้ยงชีพมีความเป็นอยู่ด้วย
การรับประทานอาหาร
สวมเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
ก็ให้มีสติรู้ทันทุกขณะ
๔.
ปจฺจยนิสฺสิตสีล
บ้างก็เรียกว่า
ปจฺจยสนฺนิสฺสิตสีล
เว้นจากการอาศัยปัจจัยที่ผิด
คือ
ไม่ได้พิจารณาก่อนบริโภคปัจจัย
๔ ที่ตนอาศัย มี อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
และยารักษาโรค
เป็นการเว้นจากการบริโภคด้วย
ตัณหา และอวิชชา
ในการสำรวมระวังรักษาสีลให้บริสุทธินี้
ในวิสุทธิมัคคท่านได้กล่าว
เตือนสติผู้รักษาสีลให้ระวังสีล
ประดุจ
กิกี
ว อณฺฑํ เหมือน
นกกระต้อยตีวิต ระวังไข่
ปิยํ
ว ปุตฺตํ เหมือน
มารดา ระวังบุตรสุดสวาท
นยนํ
ว เอกํ เหมือน
คนตาบอดข้างเดียว
ระวังนัยน์ตาอีกข้างหนึ่ง
เมื่อมีสีลบริสุทธิบริบูรณ์ดีแล้ว
ชื่อว่ามีรากฐานมั่นคงที่จะทำสมาธิเพื่อชำระใจให้บริสุทธิอีกต่อไป
แต่ถ้าสีลยังไม่บริสุทธิ มีขาด
ด่างพร้อย ทะลุอยู่
ก็ยากที่จะทำให้บังเกิดมีสมาธิขึ้นมาได้
อนึ่ง
สมาธิที่เกิดจากสีลบริสุทธินี้
มีกำลังมาก
ดังปรากฏในปรินิพพานสูตร
แสดงว่า
พระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ว่า
สีลปริภาวิโต
สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส
สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา
มหปฺผลา
โหติ มหานิสํสา ปญฺญาปริภาวิตํ
จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ
สมาธิที่เจริญไว้ด้วยสีล
ย่อมมีกำลังมากและมีผลานิสงส์มาก
ปัญญาที่ได้เจริญไว้ด้วยสมาธินั้น
ย่อมมีกำลังมาก มีอานิสงส์มาก
จิตใจที่ได้เจริญไว้ด้วยปัญญานั้น
ย่อมหลุดพ้นจาก อาสวะ ทั้ง ๔
ได้โดยตนเอง
สีลวิสุทธิ
นี้เป็นวิสุทธิมัคคลำดับต้นแห่ง
วิสุทธิ ๗
ต่อไปก็เป็นจิตตวิสุทธิ
ดังมีบาลีว่า
อุปจารสมาธิ
อปฺปนาสมาธิ เจติ ทุวิโธปิสมาธิ
จิตฺตวิสุทฺธินาม
สมาธิ ทั้ง ๒ อย่าง คือ
อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
นี้ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ
มีความหมายว่า
จิตตวิสุทธิในทางสมถภาวนา
หมายถึง อุปจารสมาธิ
คือ
สมาธิที่แน่วแน่จวนจะหรือใกล้จะได้ฌานเข้าไปแล้ว
ตลอดจนถึงอัปปนาสมาธิ
คือ
สมาธิที่แนบแน่นอย่างแน่วแน่จนได้ฌานนั้นด้วย
ส่วนในทาง
วิปัสสนาภาวนา นับตั้งแต่ ขณิกสมาธิ
ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
คือ
มีสติรู้ทันปัจจุบันแห่งรูปนาม
ไม่เผลอไปจากปัจจุบันธรรม
ดังนั้น โลภ โกรธ หลง
ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
เมื่อรู้ทันปัจจุบันอยู่ทุกขณะอย่างมั่นคง
เช่นนี้เรียกว่า ขณิกสมาธิ
ขณะนี้จิตใจก็บริสุทธิจากกิเลส
จึงได้ชื่อว่า
จิตตวิสุทธิ
เช่นเดียวกัน
จิตตวิสุทธิ
นี้เป็นวิสุทธิมัคคลำดับที่ ๒
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ