ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
อุเบกขากัมมัฏฐาน
สตฺเตสุมชฺฌตฺตาการปฺปวตฺติลกฺขณา มีอาการเป็นไปอย่างกลาง
ในสัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
สตฺเตสุสมภาวทสฺสนรสา
มีการมองดูสัตว์ทั้งหลายด้วยความเสมอกัน
เป็นกิจ
ปฏิฆานุนยวูปสมปจฺจุปฏฺฐานา มีความสงบจากความเกลียด
และไม่มีความรักในสัตว์ทั้งหลาย
เป็นอาการปรากฏแก่ผู้ที่ทำการพิจารณาอุเบกขา
กมฺมสฺสกา
สตฺตา เต กมฺมสฺส รุจิยา สุขิตา วา
ภิวสฺ สนฺติ ทุกฺขโต วา
มุจฺจิสฺสนฺติ ปตฺตสมฺปตฺติโต วา
น ปริหายิสฺสนฺตีติ เอวํ
ปวตฺตกมฺมสฺสกตาทสฺสนปทฏฺฐานา
ปัญญาที่พิจารณา
เห็นการกระทำของตนเป็นของตนเองเป็นไปอย่างนี้ว่า
สัตว์ทั้งหลายมีการกระทำของตนเป็นของตนเอง
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
จะมีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์
หรือจักไม่เสื่อมจากโภคสมบัติของตนที่มีอยู่เหล่านี้
ด้วยความประสงค์ของผู้ใดผู้หนึ่งนั้น
ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย
เป็นเหตุใกล้
ปฏิฆานุนยวูปสโม
สมฺปตฺติ
การสงบจากความเกลียด
และไม่มีความรัก
เป็นความสมบูรณ์ของอุเบกขา
เคหสิตาย
อญฺญาณุเปกฺขาย สมฺภโว วิปตฺติ การเกิดขึ้นแห่งอญาณุเบก-ขา
โดยอาศัยกามคุณอารมณ์
เป็นความเสื่อมเสียแก่อุเบกขา
อญาณุเปกฺขา
อาสนฺน ปจฺจตฺถิกา การวางเฉยด้วยอำนาจแห่งโมหะ
เป็นศัตรูใกล้
ราคปฏิฆา
ทูรปจฺจตฺถิกา
ราคะ
และโทสะ เป็นศัตรูไกล
๑.
โยคีผู้เจริญ
อุเบกขากัมมัฏฐาน
จะต้องเป็นผู้ที่ได้ถึงรูปาวจรจตุตถฌาน
โดยอาศัย เมตตา กรุณา มุทิตา
กัมมัฏฐาน
อย่างหนึ่งอย่างใดมาเสียก่อน
จึงจะเจริญอุเบกขากัมมัฏฐานต่อไปได้
๒.
เริ่มต้นแผ่ให้แก่
มัชฌัตตบุคคลก่อน โดยบริกรรมว่า
อิเม ปุคฺคลา กมฺมสฺสกา
บุคคลทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี
ความไม่สูญเสียจากความสุขก็ดี
ย่อมแล้วแต่กรรมของตน
อาศัยผู้อื่นทำให้เป็นไปนั้นไม่ได้
๓.
ต่อมาให้แผ่ให้แก่
ปิยบุคคล โดยบริกรรมว่า มม
ปิยปุคฺคลา กมฺมสฺสกา
บุคคลทั้งหลายอันเป็นที่รัก
ย่อมมีกรรมเป็นของของตน
ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี
ความไม่สูญเสียจากความสุขก็ดี
ย่อมแล้วแต่กรรมของตน
อาศัยผู้อื่นทำให้เป็นไปนั้นไม่ได้
๔.
จากนั้นแผ่ให้แก่
อติปิยบุคคล โดยบริกรรมว่า มม
อติ ปิยปุคฺคลา กมฺมสฺสกา
บุคคลที่เป็นที่รักใคร่เป็นอย่างมาก
ย่อมมีกรรมเป็นของของตน
อาศัยผู้อื่นทำให้เป็นไปนั้นไม่ได้
๕.
ลำดับนั้นแผ่ให้แก่
เวรีบุคคล โดยบริกรรมว่า มม
เวรีปุคฺคลา กมฺมสฺสกา บุคคลทั้งหลายที่เป็นศัตรูต่อข้าพเจ้า
ย่อมมีกรรมเป็นของของตน
อาศัยผู้อื่นทำให้เป็นไปนั้นไม่ได้
๖.
การแผ่อุเบกขา
มีหัวข้อที่พึงกำหนดแต่อย่างเดียว
ดังกล่าวแล้วและแผ่ขยายให้กว้างออกไปได้เป็น
๓ นัยอย่างเดียวกับ กรุณา
และมุทิตา ดังนั้นอุเบกขา
จึงแผ่ไปได้ ๑๓๒ กระแสเท่านั้น
อโนทิโสผรณาอุเบกขา
แผ่อุเบกขาไปโดยไม่จำกัดบุคคล
มี ๕ ฐาน
แต่ละฐานมีกระแสเดียวจึงคงเป็น
๕ กระแส
โอทิโสผรณาอุเบกขา
แผ่อุเบกขาไปโดยจำกัดบุคคล มี ๗
ฐาน
แต่ละฐานมีกระแสเดียวจึงคงเป็น
๗ กระแส
ทิสาผรณาอุเบกขา
แผ่อุเบกขาไปทั้งจำกัดบุคคล ๗
และไม่จำกัดบุคคล ๕ รวมเป็น ๑๒
ฐาน แผ่ไป ๑๐ ทิศ จึงเป็น ๑๒๐ กระแส
รวมทั้ง
๓ นัย ได้ ๑๓๒ กระแส จึงเป็นอันว่า
การแผ่อุเบกขาทั้งหมดนั้นมีได้
๑๓๒ กระแส
๗.
การแผ่อุเบกขา
ก็ต้องแผ่จนให้ถึง สีมสัมเภท
เช่นเดียวกันทำนองเดียวกับเมตตา
กรุณา มุทิตา นั้น
๘.
การเจริญ
อุเบกขา จนถึง อัปปนาภาวนา
อัปปนาสมาธิ
คือเกิดปัญจมฌานจิตนั้น
ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับ เมตตา
กรุณา มุทิตา
ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นนี้อีกเหมือนกัน
๙.
อุเบกขากัมมัฏฐาน
เป็นการเจริญสมถภาวนาโดยเฉพาะ
เพื่อให้เกิดปัญจมฌาน
ฌานเดียวเท่านั้นเอง
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ