ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. สีลานุสสติ

การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของสีลที่ได้สมาทานหรือรักษาอยู่นั้น ว่าได้รักษาไว้โดยปราศจากโทษ ๔ อย่าง คือ อขณฺฑ ไม่ขาด ไม่เป็นท่อน, อฉิทฺท ไม่ทะลุ, อสพล ไม่ด่าง, อกมฺมาส ไม่พร้อย และยิ่งเป็น อนิสสิตสีล คือไม่เจือปนด้วยตัณหาหรือทิฏฐิด้วยแล้ว ก็ยิ่งทรงคุณอันประเสริฐ ให้ผลใหญ่หลวงยิ่งนัก

สีลที่เจือปนระคนด้วยตัณหา หรือทิฏฐินั้น ชื่อว่า นิสสิตสีล ได้แก่

ตัณหานิสสิตสีล เป็นสีลที่เจือปนด้วยตัณหา คือ มีความปรารถนาในโภคสมบัติ และภวสมบัติ จึงรักษาสีล

ทิฏฐินิสสิตสีล เป็นสีลที่เจือปนด้วยทิฏฐิ คือ มีความเห็นว่าจะพ้นจากสังสารวัฏฏด้วยอานิสงส์ของสีล จึงรักษาสีล

ส่วน อนิสสิตสีล นั้น เป็นการรักษาสีลโดยไม่ได้หวังว่าตนจะได้รับผลตอบแทนแต่อย่างใด แต่รักษาสีลเพื่อมิให้มีการเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อมิให้เกิดเป็นทุกข์โทษภัยแก่ผู้อื่น และเพื่อให้มีความปกติสุขโดยทั่วหน้ากัน

เมื่อได้นึกถึงความบริสุทธิ์ของสีลที่ตนรักษาแล้ว  จงระลึกว่า  สีลนี้เป็นคุณที่ยังให้สมาธิทั้งหลายได้เกิดขึ้น ถ้าปราศจากสีลเสียแล้ว สมาธิก็จะไม่เกิดขึ้น



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...