ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

วิโมกข และวิโมกขมุข

วิโมกข มีวิเคราะห์ศัพท์ว่า ปฏิปกฺขโต วิมุจฺจตีติ วิโมกฺโข ได้รอดพ้นจากกิเลส ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ ฉะนั้นจึงเรียกว่า วิโมกข เลยแปลกันให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า หลุดพ้น ขาดจากความพัวพันแห่งโลก วิโมกข ก็มี ๓ เช่นเดียวกัน ดังมีคาถาที่ ๑๙ แสดงว่า

๑๙. สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ ตถาปฺปณิหิโตปิ จ ตโย เม วิโมกฺเข วตฺตา ติสฺโส จ อนุปสฺสนา วิโมกฺขตฺตยวิโมกฺข มุกฺขตฺเตย หิ สญฺฐิตา ฯ

วิโมกข ๓ ประการเหล่านี้ คือ สุญญตวิโมกข อนิมิตตวิโมกข อัปปณิหิตวิโมกข อันพระพุทธองค์ทรงตรัสแล้ว ส่วนอนุปัสสนา ๓ อย่างนั้น ตั้งอยู่แล้วใน  วิโมกขมุข ๓ คือ วิโมกข ๓ นั้นแล

มีความหมายว่า เมื่อกำหนดจนเกิดปัญญารู้เห็นว่า รูปนามนี้เป็น อนิจจัง ก็ให้ตามเห็นอนิจจัง นั้น การตามเห็น อนิจจัง นี้เรียกว่า อนิจจานุปัสสนา อนิจจานุปัสสนานี้แหละ ที่ได้ชื่อว่าวิโมกขมุข คือ บ่ายโฉมหน้าในการหลุดพ้นด้วยการตามเห็น อนิจจัง และเพราะว่าได้บ่ายโฉมหน้า เพื่อให้หลุดพ้นด้วยการตามเห็น อนิจจัง อันไม่มีนิมิตเครื่องหมาย จึงได้ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกขมุข เมื่อบ่ายโฉมหน้าตามเห็น อนิจจัง จนถึงซึ่งความหลุดพ้นก็ได้ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข คือ พ้นด้วยการดับอนิจจัง ปราศจากนิมิตเครื่องหมายใด ๆ

เมื่อกำหนดจนเกิดปัญญา รู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นทุกขัง ก็ให้ตามเห็นทุกขังนั้น การตามเห็นทุกขังนี้เรียกว่า ทุกขานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนานี้แหละที่ได้ชื่อว่า     วิโมกขมุข คือบ่ายโฉมหน้าในการหลุดพ้นด้วยการตามเห็นทุกขัง และเพราะว่าได้บ่ายโฉมหน้าเพื่อให้หลุดพ้นด้วยการตามเห็น ทุกขัง อันหาเป็นปณิธิที่ตั้งแห่งตัณหาไม่ได้ จึงได้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกขมุข ครั้นถึงซึ่งความหลุดพ้นก็ได้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข คือพ้นด้วยการดับทุกข์ ว่างจากกิเลส

ในทำนองเดียวกัน เมื่อกำหนดจนเกิดปัญญารู้เห็นว่า รูปนามนี้เป็น อนัตตา ก็ให้ตามเห็นอนัตตานั้น การตามเห็น อนัตตา นี้เรียกว่า อนัตตานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนานี่แหละที่ได้ชื่อว่าวิโมกขมุข คือ บ่ายโฉมหน้าในการหลุดพ้นด้วยการตามเห็น อนัตตา การบ่ายโฉมหน้าเพื่อให้หลุดพ้น ด้วยการตามเห็น อนัตตา อันเป็นความว่างเปล่าจากตัวตน จึงได้ชื่อว่า สุญญตวิโมกขมุข ครั้นถึงซึ่งความหลุดพ้น ก็ได้ชื่อว่า สุญญตวิโมกข เป็นการพ้นด้วยการดับสูญแห่งอัตตา


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...