ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
อานิสงส์ของปัญญา
ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ในโลกุตตรจิต
ซึ่งมีอานิสงส์ ดังต่อไปนี้
๑.
กำจัดกิเลสต่าง
ๆ ให้เป็นสมุจเฉทได้โดยสิ้นเชิง
๒.
เสวยรสแห่งอริยผล
คือ ตั้งอยู่ในผลสมาบัติได้
๓.
เข้านิโรธสมาบัติ
คือ ดับจิตและเจตสิกได้
๔.
ควรแก่การต้อนรับ
บูชา ของมนุษย์และเทวดา
๑.
กำจัดกิเลส
อะไรได้บ้างนั้น
ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้ว
ในที่นี้จะขอกล่าวเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า
การกำจัดกิเลสจนเป็นสมุจเฉทนั้น
เป็นอำนาจหน้าที่ของมัคคญาณ คือ
ปัญญาในมัคคจิตโดยเฉพาะ
แต่ว่าได้เริ่มกำจัดหรือเริ่มประหาณกิเลสเรื่อยมาตั้งแต่ภังคญาณอันเป็นญาณที่
๕ แห่งโสฬสญาณนั้นแล้ว กิเลสต่าง
ๆ ก็เริ่มอ่อนกำลังลงตามลำดับ
ครั้นมาถึง มัคคจิต กิเลสนั้น ๆ
จึงดับสนิทพอดี
มัคคจิตจะปรากฏขึ้นมาก็ด้วยอำนาจแห่งญาณต่าง
ๆ เป็นปัจจัย ญาณต่าง ๆ
เหล่านั้นเกิดขึ้นได้
เพราะการเจริญสติปัฏฐาน
การเจริญสติปัฏฐานจึงเป็นหัวใจให้ถึงมัคคถึงผล
การเจริญสติปัฏฐานก็เพื่อให้สติตั้งมั่นในอารมณ์กัมมัฏฐาน
ที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าในปัจจุบันนั้น
ไม่คิดย้อนหลังไปถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว
ไม่คิดล่วงหน้าไปถึงอารมณ์ที่ยังไม่มีมา
อันจะเป็นเหตุให้เกิด อภิชฌา
และโทมนัส
ผู้ปฏิบัติจึงจะต้องระวังให้จงหนัก
อย่าให้อภิชฌา และโทมนัส
อาศัยเกิดขึ้นในอารมณ์เหล่านั้นได้
เช่นเกิดมีธรรมที่ไม่ดีไม่ชอบใจมาปรากฏขึ้น
ผู้ที่ไม่เข้าใจก็จะพยายามไม่รับอารมณ์นั้น
เพราะอยากจะรับแต่อารมณ์ที่ดีที่ชอบใจ
ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีมาถึงเลย
ครั้นเมื่ออารมณ์ที่ดีที่ชอบใจเกิดขึ้น
ก็พยายามที่จะรักษาอารมณ์นั้นไว้
อย่างนี้ไม่ชื่อว่าเข้าถึงสติปัฏฐาน
เพราะยังมีความยินดียินร้ายอยู่
คือยังมีอภิชฌาและโทมนัสอยู่
จึงยังไม่เป็น มัชฌิมาปฏิปทา
ข้อสำคัญ
ต้องมีสติกำหนดอารมณ์ที่ปรากฏเฉพาะหน้า
คือ
ในอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น
จึงจะปิดกั้นอภิชฌาและโทมนัสได้
เมื่ออารมณ์อะไรปรากฏขึ้น
ก็กำหนดเพ่งเฉพาะอารมณ์นั้น
จนกว่าจะเกิดปัญญาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า
เป็นรูป เป็นนาม
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา
ในการที่ไม่เห็นว่ารูปนามเป็นอนิจจังนั้น
ก็เพราะสันตติปิดบังไว้
ที่ไม่เห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์ก็เพราะว่าอิริยาบถปิดบังไว้
ที่ไม่เห็นว่ารูปนามเป็นอนัตตาก็เพราะว่าฆนสัญญา
ความที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนปิดบังไว้
จึงสำคัญไปว่า
เป็นตัวเป็นตนขึ้น คือ
มีสักกายทิฏฐินี้แหละที่เป็นพืชพันธุ์ให้เกิดมิจฉาทิฏฐิอื่น
ๆ อีกมากมาย
๒.
การเสวยรสแห่งอริยผล
คือ ตั้งอยู่ในผลสมาบัติได้
เป็นการเข้าอยู่ในอารมณ์พระนิพพาน
ที่ได้มาจากอริยผลญาณอันบังเกิดแล้วแก่ตน
เพื่อเสวยโลกุตตรสุข
ซึ่งเป็นความสงบสุขที่พึงประจักษ์ได้ในปัจจุบัน
อันมีความหมายดังนี้
(๑)
ปรารภจะเสวยซึ่งความสงบสุขในผลสมาบัติ
(๒)
ไม่มีนิมิต
รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์
(๓)
ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว
(๔)
กำหนดเวลาเข้า
เวลาออก ด้วยการอธิฏฐาน
(๕)
เมื่อยังไม่ครบกำหนดเวลาออก
ก็คงตั้งอยู่ในผลสมาบัติ
(๖)
เวลาเข้าก็เจริญวิปัสสนา
เริ่มแต่อุทยัพพยญาณ
จนอนุโลมญาณ
ดับอารมณ์จากโลกีย์แล้วถึงผลญาณได้พระนิพพาน
เป็นอารมณ์ตลอดไปจนครบกำหนดเวลาออก
ตามที่ได้อธิฏฐานไว้
ที่มัคคจิตไม่เกิด
ก็เพราะเหตุว่า
แรงอธิฏฐานน้อยไปในผลสมาบัติ
ปรารถนาทิฏฐธัมมสุขวิหาร
อยู่ในธรรมที่สงบสุขในปัจจุบันชาตินี้
บุคคลที่เข้าผลสมาบัติได้ต้องเป็นพระอริยเจ้า
คือเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี
พระอนาคามี พระอรหันต์
ส่วนปุถุชนจะเข้าผลสมาบัติไม่ได้เลยเป็นอันขาด
พระอริยเจ้าที่เข้าผลสมาบัติ
ก็เข้าได้เฉพาะอริยผลที่ตนได้ตนถึงครั้งสุดท้ายเท่านั้น
แม้อริยผลที่ตนได้และผ่านพ้นเลยมาแล้ว
ก็ไม่สามารถจะเข้าได้ กล่าวคือ
พระโสดาบัน
เข้าผลสมาบัติได้เฉพาะ
โสดาปัตติผล
พระสกทาคามี
เข้าผลสมาบัติได้เฉพาะ
สกทาคามิผลเท่านั้น
จะเข้าโสดาปัตติผลที่ตนเคยได้เคยผ่านพ้นมาแล้วนั้น
ก็หาได้ไม่
ในทำนองเดียวกัน
พระอนาคามี
ก็เข้าผลสมาบัติได้เฉพาะ
อนาคามิผลอย่างเดียว
พระอรหันต์
ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่อรหัตตผลโดยเฉพาะ
เช่นเดียวกัน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ