ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

พระอริยสุกขวิปัสสกเข้าผลสมาบัติ ได้หรือไม่

ได้เกิดปัญหาว่า ผู้ที่ได้มัคคผลคือพระอริยบุคคลนั้น สามารถเข้าสมาบัติได้ทุกท่านหรือหาไม่ หรือว่าเข้าผลสมาบัติได้เฉพาะพระอริยบุคคลผู้ที่ได้ฌานด้วยเท่านั้น

การเข้าผลสมาบัตินั้นจะต้องเข้าด้วยกำลังของวิปัสสนาปัญญา ลำพังแต่สมถะอย่างเดียวก็เข้าผลสมาบัติไม่ได้ เข้าได้แต่ฌานสมาบัติอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้นการเข้าผลสมาบัติ จึงต้องเป็นผู้ที่เคยได้ฌานมาแล้ว และทั้งเป็นผู้ที่เคยได้วสีมาแล้วในการเข้าฌานสมาบัติ แล้วมาเจริญวิปัสสนาได้สำเร็จมัคคผล ซึ่งเรียกว่าโลกุตตรธรรมนั้น แล้วจึงเข้าสมาบัติด้วยผลจิตได้

แม้จะถือหลักว่า พระอริยผู้นั้นจะต้องเคยได้ฌานมาแล้ว เป็นประการสำคัญ จึงจะเข้าผลสมาบัติได้ก็ดี ก็คงเห็นว่า ลงได้เป็นพระอริยแล้ว ก็เข้าผลสมาบัติได้ทั้งนั้น เพราะแม้ว่าพระอริยผู้นั้นจะไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อน ไม่เคยได้ฌานมาก่อนก็ตามที แต่เมื่อเจริญวิปัสสนาภาวนาจนถึงมัคคญาณ มัคคจิตนั้นต้องประกอบด้วยองค์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นองค์ของปฐมฌานโดยบริบูรณ์อย่างพร้อมมูลเสมอไป เหตุนี้โลกุตตรจิต จึงย่อมประกอบด้วยปฐมฌานอย่างแน่นอน ดังมีหลักฐานใน อัฏฐสาลิ นีอรรถกถา ซึ่งได้อ้างมาข้างต้นครั้งหนึ่งแล้วว่า

วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ  ปฐมชฺฌานิโก  โหติ ฯ

ตามธรรมเนียมของวิปัสสนา มีหลักอยู่ว่า มัคคที่เกิดขึ้นแก่ท่านที่เจริญวิปัสสนาล้วน ๆ ก็ย่อมประกอบด้วยปฐมฌานฯ

อนึ่งตามนัยแห่งอริยสัจจ ๔ ตอนที่แสดงมัคคอริยสัจจก็กล่าวไว้ว่า อริยมัคคนั้นเป็นสมถะด้วยเป็นวิปัสสนาด้วย คือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ๒ องค์นี้ สงเคราะห์ด้วยวิปัสสนา ยาน(พาหนะ)เครื่องนำไปคือวิปัสสนาที่เหลืออีก ๖ องค์ อันได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ นั้นสงเคราะห์ด้วยสมถะ ยาน(พาหนะ)เครื่องนำไปคือสมถะ พระอริยสาวกท่านเว้นส่วน ๒ คือ เว้นกามสุขัลลิกานุโยค ด้วยวิปัสสนายาน และเว้นอัตตกิลมถานุโยค ด้วยสมถยาน ดำเนินไปไต่ไปยัง มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ทำลายกองโมหะด้วยปัญญาขันธ์ ทำลายกองโทสะด้วยสีลขันธ์ ทำลายกองโลภะด้วยสมาธิขันธ์ ถึงปัญญาสัมปทาด้วยอธิปัญญาสิกขา ถึงสีลสัมปทาด้วยอธิสีลสิกขา ถึงสมาธิสัมปทาด้วยอธิจิตตสิกขา ทันทีที่ถึงพร้อมด้วยสิกขา ๓ นี้ก็แจ้งซึ่งพระนิพพาน มีความดั่งนี้ ก็เป็นข้อสนับสนุนว่า โลกุตตรจิตนั้น ย่อมได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค ซึ่งมีชื่อว่า มัคคสิทธิฌาน

สมตามนัยแห่งพระอภิธรรมที่แสดงว่า โลกุตตรจิตอย่างพิสดาร มีจำนวน ๔๐ ดวง โดยนับโลกุตตรจิตของสุกขวิปัสสกอริยบุคคลนั้นเป็นปฐมฌานด้วย ถ้าหากไม่นับโลกุตตรจิตของสุกขวิปัสสกอริยบุคคลเป็นปฐมฌานด้วยแล้ว โลกุตตรจิตอย่างพิสดารก็จะต้องเป็น ๔๘ ดวง คือ

โลกุตตรจิต       ที่ไม่ ประกอบด้วยฌานเลย    ๘ ดวง

โลกุตตรจิต       ที่ประกอบด้วย                   ปฐมฌาน             ๘ ดวง

โลกุตตรจิต       ที่ประกอบด้วย                   ทุติยฌาน             ๘ ดวง

โลกุตตรจิต       ที่ประกอบด้วย                   ตติยฌาน             ๘ ดวง

โลกุตตรจิต       ที่ประกอบด้วย                   จตุตถฌาน           ๘ ดวง

โลกุตตรจิต       ที่ประกอบด้วย                   ปัญจมฌาน          ๘ ดวง

อีกประการหนึ่ง ยังไม่เคยพบหลักฐานที่อื่นอีกว่า ได้มีการกล่าวอ้างไว้ ณ ที่ใดว่า การเข้าผลสมาบัติจะต้องอาศัยอำนาจแห่งฌานจิตประกอบด้วย ไม่เหมือนกับการเข้านิโรธสมาบัติ ซึ่งได้กล่าวไว้โดยแน่ชัดว่า ต้องมีสมถพละและวิปัสสนาพละ คือ มีสมาธิและปัญญาเป็นกำลังชำนาญ ชำนาญในโสฬสญาณ(คือญาณทั้ง ๑๖)  ชำนาญในฌานสมาบัติ ๘ (คือทั้งรูปฌานและอรูปฌาน) มาก่อน ถ้าการเข้าผลสมาบัติจำต้องเป็นผู้ได้ฌานมาก่อนด้วย ก็น่าจะมีการกล่าวไว้โดยชัดแจ้ง เพราะคำสอนในพระพุทธศาสนาย่อมกล่าวอย่างชัดเจนเสมอ เช่น

วิสํ ชีวิตุกาโม ปาปานิ ปริวชฺชเย บุคคลพึงเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคน ที่ต้องการเป็นอยู่ เว้นยาพิษ

และในทุกมาติกาก็กล่าวว่า วิชฺชูปมทุเก ตาว จกฺขุมา กิร ปุริโส เมฆนฺธกาเร รตฺตํ มคฺคํ ปฏิปชฺชิ ตสฺส อนฺธการตาย มคฺโค น ปญฺญายติ วิชฺชุ นิจฺฉริตฺตวา อนฺธการํ วิทฺธํเสติ อทสฺสํ อนฺธการวิคมา มคฺโค ปากโฏ อโหสิ พึงอธิบายใน วิชชูปมาทุก ก่อน สมมติว่า บุรุษมีจักขุเป็นปกติเดินทางกลางคืน ที่มีเมฆบังมืด เพราะความมืด หนทางย่อมไม่ปรากฏแก่เขา สายฟ้าแลบออกกำจัดความมืด เพราะความมืดหายไปในขณะนั้น หนทางได้ปรากฏแล้วแก่เขา

. เข้านิโรธสมาบัติ คือ ดับจิตเจตสิกได้ เป็นการเข้าสู่ความดับสนิทแห่งนามขันธ์ มีสัญญาและเวทนา เป็นต้น โดยปราศจากอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น และอยู่ได้ถึง ๗ วัน ด้วยความปรารถนาที่จะหนีจากทุกขรูปทุกขนาม ในเมื่อยังไม่เข้าสู่ปรินิพพาน

ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

() ต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์

() ต้องได้ฌานสมาบัติครบถ้วน คือได้รูปฌาน และอรูปฌาน ด้วยทุกฌาน

() ต้องมีวสี ชำนาญคล่องแคล่วในสัมปทา คือ ความถึงพร้อม ๔ ประการ ได้แก่

. มี สมถพละ และวิปัสสนาพละ คือ มีสมาธิ และปัญญา เป็นกำลังชำนาญทั้ง ๒ อย่าง

. ชำนาญในการระงับ กายสังขาร (คือลมหายใจเข้าและออก)

ชำนาญในการระงับ วจีสังขาร (คือ วิตก วิจาร ที่ปรุงแต่งวาจา)

ชำนาญในการระงับ จิตตสังขาร (คือ สัญญา และเวทนาที่ทำให้ เจตนาปรุงแต่งจิต)

. ชำนาญใน โสฬสญาณ

. ชำนาญใน ฌานสมาบัติ

() ต้องเป็นบุคคลในภูมิที่มีขันธ์ ๕ (คือปัญจโวการภูมิ) เพราะในอรูปภูมิเข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ด้วยเหตุว่าไม่มีรูปฌาน

ดังนี้จะเห็นได้ว่า การเข้านิโรธสมาบัติ จำต้องใช้กำลังทั้ง ๒ ประการ คือ  กำลังสมถภาวนา ต้องถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และกำลังวิปัสสนา ก็ต้องถึงตติยมัคค เป็นอย่างต่ำ กล่าวคือต้องใช้ทั้งกำลังสมาธิ และกำลังปัญญาควบคู่กันด้วย

. เป็นผู้ที่ควรแก่การต้อนรับบูชา เพราะเป็นผู้ที่มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่งในการเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุ มัคค ผล นิพพาน อันเป็นการปฏิบัติธรรมที่ประเสริฐสุดยอดแล้ว เป็นพระอริยบุคคล เป็นพระอริยสงฆเจ้าที่สมบูรณ์ด้วยสังฆคุณ ๙ ประการ มีสุปฏิปันโน เป็นต้น จึงเป็นผู้ที่ควรต้อนรับ ควรสักการะควรบูชาโดยแท้

สังฆคุณ ๙ มีรายละเอียดข้างต้นตรง สังฆานุสสติ

๓๘. สมาสโต วิปสฺสนา กมฺมฏฺฐานนโย อยํ ฯ

นี่คือ นัยแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน อันแสดงแล้วโดยย่อ

วิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามนัยแห่ง พระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้โดยย่อนั้น มีเพียงเท่านี้

๓๙. ภาเวตพฺพํ ปนิจฺเจวํ ภาวนา ทฺวยมุตฺตมํ ปฏิปตฺติ รสสฺสาทํ ปตฺถยนฺเตน สาสเน ฯ

ก็ผู้ปรารถนายินดีในรสแห่งการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา จึงเจริญภาวนาทั้ง ๒ อย่าง อันอุดม มีนัยดังบรรยายมาด้วยประการ ฉะนี้แล

ภาวนาทั้ง ๒ อย่างอันอุดม คือ

. สมถภาวนา เป็นการทำให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งความสงบระงับจากกิเลส สมถภาวนามีสมถกัมมัฏฐาน คือ บัญญัติเป็นต้น อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจเป็นสิ่งสำหรับเพ่งพินิจ เพื่อให้เกิดความสงบ

. วิปัสสนาภาวนา เป็นการทำให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วยปัญญา ให้พ้นจากกิเลสโดยเด็ดขาด วิปัสสนาภาวนามีวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ รูปนาม เป็นสิ่งสำหรับพิจารณาให้เกิดปัญญา

ความปรารถนาและความยินดีในรสแห่งการปฏิบัติกัมมัฏฐานก็ดี การเจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุมัคคผลก็ดี ย่อมมี บารมี เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ในอันที่จะให้เป็นไปเช่นนั้น เหตุนี้จึงเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบเรื่อง บารมีไว้บ้าง แม้แต่จะเป็นเพียงโดยย่อ ดังต่อไปนี้


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...