ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
สัปปายะ
สัปปายะ
แผลงมาเป็น สปายะ
คือ สบาย
นั่นเอง
หมายถึงธรรมอันเป็นที่สบายที่เหมาะสมแก่การเจริญกัมมัฏฐาน
อันเป็นส่วนหนึ่งซึ่งอุปการะให้มีความสงบระงับ
ทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย
สปายธรรมมีหลายประการ จำแนกเป็น
๔ บ้าง เป็น ๕ บ้าง
ในที่นี้ขอกล่าวว่ามี ๗ ประการ
คือ
๑.
ที่อยู่อันเป็นที่สบาย
ไม่ใกล้ทางสัญจรไปมา
ไม่ใกล้บ่อน้ำ
อันจะเกิดความรำคาญจากผู้คนไปมาจอแจพูดจากันจ้อกแจ้กไม่ขาดสาย
แต่ควรเป็นสถานที่ที่วิเวก
สงัดจากสิ่งที่รบกวนความสงบ
และมีรั้วรอบขอบชิด
ไม่ต้องห่วงเรื่องคนร้าย
๒.
ทางเดินอันเป็นที่สบาย
หมายถึงทางที่จะเดินจงกรม
ก็สะดวกสบาย ไม่ถูกแดดมากนัก
ทางไปบิณฑบาตทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ
ก็ไม่ต้องเดินทวนตะวันให้แดดส่องหน้าแสงเข้าตา
เพราะการถูกแดดมาก
ก็จะทำให้เกิดทุกขเวทนา
อันเป็นปฏิปักษ์กับสมาธิ
๓.
การฟังการพูดอันเป็นที่สบาย
หมายความว่า
ควรฟังหรือควรพูดในเรื่องที่จะโน้มน้าวจิตใจให้เกิด
สัทธา วิริยะ และความสงบระงับ
อันจะเป็นคุณแก่การเจริญกัมมัฏฐาน
ให้เว้นการฟังการพูดที่ไม่เป็นสปายะนั้นเสีย
๔.
บุคคลเป็นผู้ที่สบาย
หมายถึงบุคคลที่จะติดต่อคบหา
ควรเป็นผู้ที่มั่นในสีลธรรมชักจูงแนะนำไปในทางที่ให้เกิดความมักน้อย
ความเพียร ความสงบระงับ
ยิ่งเป็นผู้ที่เคยเจริญกัมมัฏฐานมาแล้ว
ก็ยิ่งจะเป็นคุณมาก
ให้เว้นจากบุคคลที่ฟุ้งซ่านและมากไปในทางกามารมณ์
ในทางโลกียสุข
๕.
ฤดูอันเป็นที่สบาย
หมายถึง
ความร้อนความเย็นของอากาศตามฤดูกาล
เช่น บางฤดูก็ร้อนจัดมาก
บางฤดูก็หนาวเสียเหลือเกิน หรือ
กลางวันร้อนจัด
แต่กลางคืนก็เย็นมากจนถึงกับหนาว
อย่างนี้คงไม่สบายแน่
อาจเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย
จำต้องเลือกให้เหมาะสมแก่ความเคยชินของตนที่พอจะทนได้
๖.
อาหารอันเป็นที่สบาย
หมายถึงว่า
ควรบริโภคแต่อาหารที่จะเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ร่างกายเป็นประมาณโดยไม่ต้องคำนึงถึงรสของอาหาร
แม้รสจะดีแต่ว่าเสาะท้องหรือทำให้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ
ก็ควรงดเสีย
เฉพาะภิกษุควรพิจารณาด้วยว่าตำบลนั้น
อัตคัดขาดแคลนจนถึงกับบิณฑบาตได้ไม่พอขบฉันหรือไม่ด้วย
ส่วนผู้ที่มีผู้ส่งเสียอาหาร
ก็ให้ทำความเข้าใจว่าอาหาร
ที่เป็นชิ้นใหญ่ก็ให้หั่นให้เล็กพอควร
ที่เป็นผักก็ตัดหรือม้วนให้พอดีคำที่มีกระดูกหรือก้างก็ให้จัดการเอาออกเสียให้หมดด้วย
๗.
อิริยาบถอันเป็นที่สบาย
หมายถึง อิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง
นอน
อิริยาบถใดทำให้จิตคิดพล่านไป
ไม่สงบ
ก็แสดงว่าอิริยาบถนั้นไม่เป็นที่สบาย
จึงไม่ควรใช้อิริยาบถนั้น
แต่เมื่อจำเป็นก็ให้ใช้แต่น้อย
มีข้อที่ควรระวังในอิริยาบถนอนอยู่ว่า
นอนเพื่อกำหนด
หรือเพราะร่างกายต้องการพักผ่อนอย่างแท้จริง
ไม่ใช่นอนด้วยอำนาจแห่งโกสัชชะ
เพราะหน่ายจากความเพียร
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ