ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

เมตตากัมมัฏฐาน

หิตาการปฺปวตฺติลกฺขณา               มีความเป็นไปแห่งกาย วาจา ใจในอันที่จะเป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ

หิตูปสํหารรสา                              มีการทำประโยชน์ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย อย่างใกล้ชิด เป็นกิจ

อาฆาตวิยนปจฺจุปฏฺฐานา              มีการบำบัดความแค้น เป็นอาการปรากฏแก่ผู้ที่ทำการพิจารณาเมตตา

มนาปภาวทสฺสนปทฏฺฐานา          การพิจารณาแต่ความดีที่น่าพึงพอใจของสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่มีการนึกถึงสิ่งที่ไม่ดี ไม่งาม เป็นเหตุใกล้

พฺยาปาทูปสโม สมฺปตฺติ               สงบความพยาบาทลงได้เป็นเวลานาน เป็นความสมบูรณ์ของเมตตา

สเนหสมฺภโว วิปตฺติ              การเกิดขึ้นแห่งตัณหาที่เหนียวแน่น เป็นความเสื่อมเสียของเมตตา

ราโค อาสนฺนปจฺจตฺถิโก                ราคะ เป็นข้าศึกใกล้ของเมตตา

พยฺาปาโท ทูรปจฺจตฺถิโก         พยาบาท เป็นข้าศึกไกลของเมตตา

. เมตตามีอานิสงส์ ถึง ๑๑ ประการ คือ

() สุขํ สุปฺปติ                               สบายในเวลาหลับ

() สุขํ ปฏิพุชฺฌติ                         สบายในเวลาตื่น

() น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ             ไม่ฝันเห็นเรื่องที่ลามก

() มนุสฺสานํ ปิ โย โหติ               เป็นที่รักของมนุษย์ทั่วไป

() อมนุสฺสานํ ปิโย โหติ               เป็นที่รักของอมนุษย์

() เทวตา รกฺขนฺติ                        เทวดาย่อมคุ้มกันรักษา

() นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ก็ดีย่อมไม่กล้ำกรายต่อผู้นั้น

() ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ          จิตผู้นั้นย่อมเป็นสมาธิ คือตั้งมั่นได้เร็ว

() มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ                สีหน้าผู้นั้นย่อมผ่องใส

(๑๐) อสมฺมุฬฺโห กาลํ กโรติ       ในเวลาใกล้มรณะ ย่อมเป็นผู้มีสติ

(๑๑) อุตฺตริ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต           เมื่อมรณะ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงสุคติอย่างสูงสุด ถึงพรหมโลกได้

. เมตตา ที่ว่าองค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก นั้น พึงเข้าใจว่า อโทสเจตสิกทั้งหมดจะเป็นเมตตาไปทุกครั้ง ก็หาไม่ อโทสะเป็นเจตสิกที่ประกอบกับโสภณจิตทั่วไปได้อยู่แล้ว เพียงแต่สวดมนต์ ไหว้พระ ใส่บาตร รักษาสีล อ่านหนังสือธรรม เหล่านี้อันเป็นจิตมหากุสล อโทสเจตสิกก็เข้าประกอบอยู่ทุกขณะ แต่ว่าขณะนั้น เมตตาไม่มี ไม่ประกอบ เพราะเมตตานั้น นอกจากไม่โกรธ ไม่เกลียดชังแล้ว ยังประสงค์ให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขอีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น มีผู้ลอบตีนาย ก. เมื่อนาย ก. ถูกตีแล้ว อาจไม่โกรธ เพราะคิดว่าเป็นกรรมของตัวจึงได้ถูกตี แค่นี้เป็น อโทสะ แต่ถ้านาย ก. ไม่โกรธแล้วยังแผ่เมตตาให้แก่ผู้ที่ลอบตีว่า จงหมดเวรหมดกรรมกันเสียที ขออย่าให้ถูกจับและได้รับโทษเลย จงปลอดภัยและมีความสุขต่อไปเถิด คิดได้ดังนี้เป็นเมตตา มีอานิสงส์สูงกว่าอโทสะมากนัก แต่ว่าผู้ที่จะถึงขั้นนี้ก็หาได้ยากมาก นอกจากจะได้ฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดีแล้ว

. ก่อนฝึกแผ่เมตตา พึงทราบว่า เมตตานี้ทำลาย โทสะ และเมตตานี้เป็นที่ตั้งมั่นแห่งขันติ

โทษของโทสะ ทำให้ใจขุ่นมัว กลัดกลุ้ม เร่าร้อน กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ถ้าไม่มีความยับยั้งใจแล้ว ก็ถึงขั้นทำลาย ทำลายผู้อื่น ตลอดจนทำลายตนเอง ทำลายทั้งทรัพย์สมบัติ ชีวิตและคุณงามความดี

คุณของขันติ ทำให้มีความอดทน อดทนต่อความยากลำบากตรากตรำ อดทนต่อความเจ็บใจ อดทนต่อความทุกข์เวทนา อดทนต่อความยั่วเย้าของกิเลส

เมื่อเห็นโทษของโทสะ และเห็นคุณของขันติแล้ว ก็ฝึกแผ่เมตตาโดยมี ข้อที่พึงกำหนดดังต่อไปนี้ จะเป็นข้อหนึ่งข้อใดแต่เพียงข้อเดียวก็ได้ คือ

          . อเวรา                         จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกัน

          . อพฺยาปชฺชา                จงเป็นผู้ไม่พยาบาทต่อกัน

          . อนีฆา                        จงเป็นผู้ที่ปราศจากทุกข์

          . สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ จงมีแต่ความสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง

. ผู้ที่มีเมตตาและแผ่เมตตาได้อย่างสะดวกใจนั้น จะต้องหมั่นฝึกอยู่เสมอ ในขั้นต้นต้องฝึกแผ่เมตตาให้แก่ตนเองก่อน เพื่อจะได้เป็นสักขีพยานว่าตนเองปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ ต้องการมีอายุยืน กลัวตาย ฉันใด ผู้อื่นก็ฉันนั้น ฝึกดังนี้บ่อย ๆ หนักเข้า เมตตาจิตก็จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย

. เมื่อแผ่เมตตาให้แก่ตนเองได้คล่องด้วยความสะดวกใจแล้ว ก็ขยายการแผ่ให้เป็นวงกว้างออกไปตามลำดับ คือ

          . อัตตะ              แผ่ให้แก่ตนเอง

          . ปิยะ                แผ่ให้แก่ผู้ที่รักใคร่

          . มัชฌัตตะ       แผ่ให้แก่ผู้ที่ไม่รักไม่ชัง

          . เวรี                  แผ่ให้แก่ผู้ที่เป็นศัตรู

. บุคคลที่จะแผ่เมตตาให้ก่อนไม่ได้นั้น มี ๔ จำพวก คือ

. อปิยบุคคล ผู้ที่เราไม่รักใคร่ เมตตาจะไม่เกิด เกิดแต่ความไม่พอใจ เพราะเราไม่มีความรักใคร่ชอบพอนั่นเอง

. อติปิยบุคคล ผู้ที่เรารักใคร่มาก เมตตาก็จะไม่เกิด เกิดแต่ความวิตกกังวลและโสกะ เพราะเรามีความรักใคร่มากนั่นเอง

. มัชฌัตตบุคคล ผู้ที่เราไม่รักและก็ไม่ชัง เมตตาจะไม่เกิด เพราะสิ่งที่ชวนจะให้เกิดความเคารพรักใคร่นั้นไม่มี ด้วยว่าไม่มีทั้งความยินดีและยินร้าย

. เวรีบุคคล ผู้ที่เป็นศัตรูแก่เรา เมตตาจะไม่เกิด เกิดแต่ความโกรธ ความเกลียด เพราะผู้นั้นเป็นศัตรูต่อเรา

. บุคคลที่จะแผ่เมตตาให้ไม่ได้นั้น มี ๒ จำพวก คือ

. ผู้ที่ตายไปแล้ว เพราะถ้าจะแผ่ให้แก่บุคคลจำพวกนี้ก็จะไม่ถึงอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ

. แผ่เจาะจงให้แก่ผู้ที่มีเพศตรงกันข้ามกับตนก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้ ฉันทะ ราคะ เกิดขึ้น แต่เมตตาจิต ไม่เกิด

ราคะ กับ เมตตา ต่างกันตรงที่ ราคะนั้นเพ่งเล็งถึงความ สวยงามแห่งร่างกาย ของผู้อื่นเป็นฐานที่เกิด ส่วนเมตตานั้นเพ่งเล็งถึงความ งดงามแห่งจิตใจ ของผู้อื่น เป็นฐานที่เกิด

. เมื่อแผ่ให้แก่ตนเอง แผ่ให้แก่ผู้อื่นตามลำดับดังกล่าว จนสะดวกใจแล้ว ก็ขยายให้กว้างออกไปอีกเป็น ๓ นัยดังที่มีชื่อเรียกว่า อโนทิโสผรณา ๑ โอทิโสผรณา ๑ และทิสาผรณา ๑

การแผ่เมตตาที่เรียกว่า อโนทิโสผรณา นั้นเป็นการแผ่ไปโดยไม่จำกัดบุคคล ๕ จำพวก คือ

. สพฺเพสตฺตา                              สัตว์ทั่วไปทั้งหลาย

. สพฺเพปาณา                             สัตว์ที่มีลมปราณ (มีชีวิต) ทั้งหลาย

. สพฺเพภูตา                                สัตว์ที่ปรากฏทั้งหลาย

. สพฺเพปุคฺคลา                            สัตว์ที่เป็นบุคคลทั้งหลาย

. สพฺเพอตฺตภาวปริยาปนฺนา       สัตว์ที่ครองอัตตภาพทั้งหลาย

การแผ่เมตตา ที่เรียกว่า โอทิโสผรณา นั้นเป็นการแผ่ไปโดยจำกัดบุคคล ๗ จำพวก คือ

. สพฺพาอิตฺถิโย          เพศหญิงทั้งหลาย                           โดย ลิงฺค

. สพฺเพปุริส                 เพศชายทั้งหลาย

. สพฺเพอริยา               พระอริยทั้งหลาย                           โดย ปุคฺคล

. สพฺเพอนริยา             ผู้ไม่ใช่อริยทั้งหลาย

. สพฺเพเทวา                เทวดาทั้งหลาย

. สพฺเพมนุสฺสา           มนุษย์ทั้งหลาย                              โดย ปฏิสนฺธิ

. สพฺเพวีนิปาติกา       อบายสัตว์ทั้งหลาย

การแผ่เมตตา ที่เรียกว่า ทิสาผรณา นั้น เป็นการแผ่ให้แก่สัตว์ทั่วไปทั้ง ๑๐ ทิศ โดยไม่คำนึงไม่จำกัดถึงสัตว์ถึงบุคคลเป็นที่ตั้ง ว่าจะเป็นสัตว์เป็นบุคคลชนิดไหนประเภทใด

. อโนทิโสผรณา แผ่ไปโดยไม่จำกัด บุคคลมี ๕ จำพวก เรียกว่ามี ๕ ฐาน แต่ละฐานมีข้อที่พึงกำหนดได้ ๔ ข้อคือ อเวรา อัพยาปัชชา อนีฆา และสุขีอัตตานัง เรียกเสียว่า ๔ กระแส ดังนั้น ๕ ฐานแต่ละฐานมี ๔ กระแสจึงเป็น ๒๐ กระแส

โอทิโสผรณา แผ่ไปโดยจำกัดบุคคล มี ๗ จำพวก เรียกว่า มี ๗ ฐาน แต่ละฐานมี ๔ กระแส จึงเป็น ๒๘ กระแส

ทิสาผรณา แผ่ไป ๑๐ ทิศ มีบุคคลทั้งที่ไม่จำกัด ๕ จำพวก และที่จำกัด ๗ จำพวก รวมมี ๑๒ ฐาน แต่ละฐานมี ๔ กระแส ก็เป็น ๔๘ ใน ๔๘ นี้ มีทุกทิศทั้ง ๑๐ ทิศ จึงเป็น ๔๘๐ กระแส

รวม อโนทิโสผรณา ๒๐ กระแส โอทิโสผรณา ๒๘ กระแส และทิสาผรณา ๔๘๐ กระแสเข้าด้วยกัน จึงเป็นอันว่า การแผ่เมตตาจิตทั้งหมดนั้นมีได้ถึง ๕๒๘ กระแส

ที่ว่า ทิสาผรณา แผ่ไป ๑๐ ทิศนั้น นับดังนี้ สัตว์ทั้งหลายที่มีจิตก็ดี ไม่มีจิตก็ดี บรรดาที่มีชีวิต อันมีอยู่ใน ทิศเบื้องบน จนถึง อกนิฏฐพรหมนั้น ๑ ทิศ ที่มีอยู่ในทิศเบื้องต่ำ ถึงอวีจิมหานรก นั้น ๑ ทิศ และที่มีอยู่ใน ทิศเบื้องขวาง นั้นอีก ๘ ทิศ จึงรวมเป็น ๑๐ ทิศด้วยกัน

๑๐. ผู้อบรมการแผ่เมตตาที่ปรารถนาให้ถึงฌาน จะต้องแผ่เมตตาจนให้สำเร็จถึง สีมสัมเภท ด้วย เพราะสีมสัมเภทนี้ สงเคราะห์ประหนึ่งว่า เป็นปฏิภาคนิมิตแห่งเมตตากัมมัฏฐาน

สีมสัมเภท แปลว่า ทำลายขอบเขตของเมตตา หมายความว่าผู้สำเร็จในสีมสัมเภทนั้น ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตเสมอภาค ไม่เอนเอียงไปใน ๔ บุคคล คือ อัตตะ ตนเอง, ปิยะ ผู้ที่รักใคร่, มัชฌัตตะ ผู้ที่ไม่รักและก็ไม่ชัง, เวรี ผู้ที่เป็นศัตรู

มีตัวอย่างแสดงไว้ว่า มีพวกโจรมาล้อมบุคคลทั้ง ๔ ที่ว่ามานี้ จะจับไปฆ่าบูชายัญคนหนึ่ง โดยถามว่าจะให้จับใครไป ถ้าจะบอกให้จับศัตรูหรือจับผู้ที่ไม่รักไม่ชังไป ก็แน่ชัดว่าผู้นั้นยังไม่ถึงสีมสัมเภท แม้ตนเองจะยอมให้จับโดยรับกรรมนี้เสีย เอง อย่างนี้ก็นับว่าไม่ถึงซึ่งสีมสัมเภทอยู่นั่นเอง เพราะเมตตานั้นยังมีขอบเขตอยู่ ต่อเมื่อมีจิตเสมอภาค จนชี้ไม่ได้ว่าจะให้จับใคร เช่นนี้จึงจะกล่าวได้ว่าถึงสีมสัมเภทอัน สงเคราะห์หรือนับเนื่อง เข้าในปฏิภาคนิมิตแล้ว

๑๑. สรุปการเจริญเมตตากัมมัฏฐาน ตามลำดับแต่ต้นจนกระทั่งได้ฌานนั้นดังนี้ คือ

. แผ่เมตตาให้แก่ตนเองก่อน แล้วแผ่ให้แก่ปิยบุคคล แก่มัชฌัตตบุคคล และแก่เวรีบุคคล ตามลำดับ ระหว่างที่แผ่เมตตาเช่นนี้เป็น บริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนา บริกรรมสมาธิ

. เมื่อมีเมตตาจิต ในบุคคลทั้ง ๔ ที่เป็นนิมิตแก่การภาวนานั้นแล้ว (แต่ยังไม่ถึง สีมสัมเภท) เมื่อนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็น อุคคหนิมิต แต่ยังเป็น บริกรรมภาวนา บริกรรมสมาธิอยู่

. ครั้นจิตของโยคีนั้นสำเร็จถึงสีมสัมเภทแล้ว ก็ ถือเหมือนว่า เป็นปฏิภาคนิมิต และเป็นอุปจารภาวนา เป็นอุปจารสมาธิ

. พยายามเจริญเมตตาภาวนาต่อไปโดย อโนทิโสผรณาเมตตา ๕ , โอทิโส ผรณาเมตตา ๗, ทิสาผรณาเมตตา ๑๐ จนกระทั่งได้ฌาน ถึง อัปปนาสมาธิ

๑๒. เมตตากัมมัฏฐาน เจริญสมถภาวนาได้ถึงปฐมฌาน เป็นต้นไปตามลำดับจนถึงแค่ จตุตถฌานเท่านั้น


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...