ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
มุทิตากัมมัฏฐาน
ปโมทนลกฺขณา มีการบันเทิงใจในคุณความดี
ทรัพย์ บริวาร ความสุข ของผู้อื่น
เป็นลักษณะ
อนิสฺสายนรสา
มีการไม่ริษยาในคุณความดี
ทรัพย์ บริวาร ความสุข ของผู้อื่น
เป็นกิจ
อรติวิฆาตปจฺจุปฏฺฐานา ทำลาย
ความริษยา
เป็นอาการปรากฏแก่ผู้ที่ทำการพิจารณามุทิตา
ปรสมฺปตฺติทสฺสนปทฏฺฐานา มีการรู้เห็นความเจริญด้วยคุณความดี
ทรัพย์ บริวาร ความสุขของผู้อื่น
เป็นเหตุใกล้
อรติวูปสโม
สมฺปตฺติ มีความสงบจากความไม่พอใจในสมบัติของผู้อื่น
เป็นความสมบูรณ์แห่งมุทิตา
ปหาสสมฺภโว
วิปตฺติ ความสุข
รื่นเริง โอ้อวด กำหนัด
เกิดขึ้นเป็นความเสื่อมเสียของมุทิตา
เคหสิตํ
โสมนสฺสํ อาสนฺน ปจฺจตฺถิกํ มีความดีใจที่เนื่องด้วยกามคุณอารมณ์
เป็นศัตรูใกล้
อรติ
ทูรปจฺจตุถิกา ความไม่ยินดี
ไม่สบายใจ
ในความเจริญของผู้อื่น
เป็นศัตรูไกล
๑.
มุทิตา
มีอานิสงส์ ๑๑ ประการ
เช่นเดียวกัน
และเหมือนกันกับอานิสงส์ของเมตตา
(๑)
สุขํ
สุปฺปติ
สบายในเวลาหลับ
(๒)
สุขํ
ปฏิพุชฺฌติ
สบายในเวลาตื่น
(๓)
น
ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ
ไม่ฝันเห็นเรื่องที่ลามก
(๔)
มนุสฺสานํ
ปิ โย โหติ
เป็นที่รักของมนุษย์ทั่วไป
(๕)
อมนุสฺสานํ
ปิโย โหติ
เป็นที่รักของอมนุษย์
(๖)
เทวตา
รกฺขนฺติ
เทวดาย่อมคุ้มกันรักษา
(๗)
นาสฺส
อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ
ไฟ ยาพิษ ศัสตรา
ก็ดีย่อมไม่กล้ำกรายต่อผู้นั้น
(๘)
ตุวฏํ
จิตฺตํ สมาธิยติ จิตผู้นั้นย่อมเป็นสมาธิ
คือตั้งมั่นได้เร็ว
(๙)
มุขวณฺโณ
วิปฺปสีทติ
สีหน้าผู้นั้นย่อมผ่องใส
(๑๐)
อสมฺมุฬฺโห
กาลํ กโรติ ในเวลาใกล้มรณะ
ย่อมเป็นผู้มีสติ
๒.
ในการแผ่มุทิตาจิตนั้น
ชั้นต้นให้แผ่แก่สุขิตสัตว์
ที่เป็นสหายรักใคร่ชอบพอเป็นอันมาก
อติปิยบุคคลก่อน โดยบริกรรมว่า อยํ
มม สหายโก ยถาลทฺธ สมฺปตฺติโต มา
วิคจฺฉนฺตุ ขอผู้ที่เป็นสหายที่รัก
จงอย่าสูญเสียความสุขทั้งปวงที่กำลังได้รับอยู่นั้นเลย
๓.
ต่อไปก็แผ่ให้แก่
ปิยบุคคล โดยบริกรรมว่า มม
ปิยปุคฺคลา ยถาลทฺธ สมฺปตฺติโต มา
วิคจฺฉนฺตุ ขอให้บุคคลทั้งหลายอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า
จงอย่าสูญเสียความสุขทั้งปวงที่กำลังได้รับอยู่นั้นเลย
๔.
จากนั้นแผ่ให้แก่
มัชฌัตตบุคคล โดยบริกรรมว่า มม
มชฺฌตฺต ปุคฺคลา ยถาลทฺธ
สมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ
ขอบุคคลทั้งหลายที่ไม่ใช่ที่รักที่ชังของข้าพเจ้า
จงอย่าสูญเสียความสุขทั้งปวงที่กำลังได้รับอยู่นั้นเลย
๕.
ลำดับนั้นแผ่ให้แก่
เวรีบุคคล โดยบริกรรมว่า มม
เวรีปุคฺคลา ยถาลทฺธ สมฺปตฺติโต
มา วิคจฺฉนฺตุ
ขอให้ผู้ที่เป็นศัตรูต่อข้าพเจ้าทั้งหลายจงอย่าสูญเสียความสุขทั้งปวงที่กำลังได้รับอยู่นั้นเลย
๖.
การแผ่มุทิตา
มีหัวข้อที่พึงกำหนดแต่อย่างเดียวว่า
จงอย่าให้สูญเสียความสุขที่กำลังได้รับอยู่
และแผ่ขยายให้กว้างออกไปได้เป็น
๓ นัยอย่างเดียวกับกรุณา ดังนั้น
มุทิตา นี้ จึงมีการแผ่ได้ ๑๓๒
กระแสเท่ากันกับ กรุณา
อโนทิโสผรณามุทิตา
แผ่มุทิตาไปโดยไม่จำกัดบุคคลมี
๕ ฐาน แต่ละฐานมีกระแสเดียว
จึงคงเป็น ๕ กระแส
โอทิโสผรณามุทิตา
แผ่มุทิตาไปโดยจำกัดบุคคลมี ๗
ฐาน แต่ละฐานมีกระแสเดียว
จึงคงเป็น ๗ กระแส
ทิสาผรณามุทิตา
แผ่มุทิตาไปทั้งจำกัดบุคคล ๗
และไม่จำกัดบุคคล ๕ รวมเป็น ๑๒
ฐาน แผ่ไป ๑๐ ทิศ จึงเป็น ๑๒๐ กระแส
รวมทั้ง
๓ นัยได้ ๑๓๒ กระแส
จึงเป็นอันว่าการแผ่มุทิตาทั้งหมดนั้นมีได้
๑๓๒ กระแส
๗.
การแผ่มุทิตาจิต
ก็ต้องแผ่จนให้ถึง สีมสัมเภท
เช่นเดียวกัน ทำนองเดียวกับ
กรุณา และเมตตา
๘.
การเจริญมุทิตาจนถึงอัปปนาภาวนา
อัปปนาสมาธิ คือเกิดฌานจิตนั้น
ก็เป็นไปทำนองเดียวกับกรุณากัมมัฏฐาน
๙.
มุทิตา
เจริญได้เพียง จตุตถฌาน
เช่นเดียวกับ เมตตา และกรุณา
ดังที่ได้กล่าวแล้วนั้นอีกเหมือนกัน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ