ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
โสฬสญาณ
เพื่อให้สะดวกแก่การศึกษา
จึงขอกล่าวถึงโสฬสญาณ คือ ญาณ ๑๖
พร้อมทั้งความหมายโดยย่อ
เสียในที่นี้เลยทีเดียว
๑.
นามรูปปริจเฉทญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นรูปเห็นนามว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน
ซึ่งไม่ได้ระคนปนกันจนแยกกันไม่ได้
๒.
ปัจจยปริคคหญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นถึงปัจจัยที่ให้เกิดรูป
เกิดนาม คือ รูปเกิดจาก กรรม จิต
อุตุ อาหาร ส่วนนามเกิดจาก อารมณ์
วัตถุ มนสิการ
๓.
สัมมสนญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์
คือ ความเกิดดับของรูปนาม
แต่ที่รู้ว่ารูปนามดับไปก็เพราะ
เห็นรูปนามใหม่เกิดสืบต่อแทนขึ้นมาแล้ว
เห็นอย่างนี้เรียกว่า
สันตติยังไม่ขาดและยังอาศัยจินตามยปัญญาอยู่
อีกนัยหนึ่งว่า สัมมสนญาณ
เป็นญาณที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์
๔.
อุทยัพพยญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน
โดยสันตติขาด คือ
เห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ
และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด
หมายความว่า
เห็นทันทั้งในขณะที่เกิดและขณะที่ดับ
อุทยัพพยญาณนี้ยังจำแนกได้เป็น
๒ คือ ตรุณอุทยัพพยญาณ
เป็นญาณที่ยังอ่อนอยู่
และพลวอุทยัพพยญาณ
เป็นญาณที่แก่กล้าแล้ว
๕.
ภังคญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นความดับแต่อย่างเดียว
เพราะความดับของรูปนามเป็นสิ่งที่ตื่นเต้นกว่าความเกิด
๖.
ภยญาณ
บ้างก็เรียกว่า ภยตูปัฏฐานญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นภัย
เป็นที่น่ากลัว
เหมือนคนกลัวสัตว์ร้าย เช่น เสือ
เป็นต้น
๗.
อาทีนวญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นโทษ
เหมือนผู้ที่เห็นไฟกำลังไหม้เรือนตนอยู่
จึงคิดหนีจากเรือนนั้น
๘.
นิพพิทาญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า
เกิดเบื่อหน่ายในรูปนาม
เบื่อหน่ายในปัญจขันธ์
๙.
มุญจิตุกมยตาญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าใคร่จะหนีจากรูปนาม
ใคร่จะพ้นจากปัญจขันธ์
เปรียบดังปลาเป็น ๆ
ที่ใคร่จะพ้นจากที่ดอนที่แห้ง
๑๐.
ปฏิสังขาญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นเพื่อหาทางที่จะหนี
หาอุบายที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากปัญจขันธ์
๑๑.
สังขารุเบกขาญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า
จะหนีไม่พ้นจึงเฉยอยู่ไม่ยินดียินร้าย
ดุจบุรุษอันเพิกเฉยในภริยาที่ทิ้งขว้างหย่าร้างกันแล้ว
๑๒.
อนุโลมญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นให้คล้อยไปตามอริยสัจจญาณนี้เรียกว่า
สัจจานุโลมิกญาณ ก็ได้
๑๓.
โคตรภูญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน
ตัดขาดจากโคตรปุถุชนเป็นโคตรอริยชน
๑๔.
มัคคญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน
และตัดขาดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาณ
๑๕.
ผลญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพานโดยเสวยผลแห่งสันติสุข
๑๖.
ปัจจเวกขณญาณ
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นใน
มัคคจิต,ผลจิต,นิพพาน,
กิเลสที่ละแล้ว
และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่
ตั้งแต่ญาณที่
๓ สัมมสนญาณ จนถึงญาณที่ ๑๒
อนุโลมญาณ รวม ๑๐ ญาณ นี้เรียกว่า วิปัสสนาญาณ
เพราะสัมมสนญาณนั้น
เริ่มเห็นไตรลักษณ์แล้ว
บางแห่งก็จัดว่า
วิปัสสนาญาณ มีเพียง ๙ คือ
นับตั้งแต่ญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณ
จนถึงญาณที่ ๑๒ อนุโลมญาณ
เพราะอุทยัพพยญาณเป็นญาณแรกที่รู้เห็นไตรลักษณ์
ด้วยปัญญาชนิดที่เรียกว่า
ภาวนามยปัญญา
โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัย
จินตามยปัญญาเข้ามาช่วย
วิปัสสนาญาณ
หมายถึง
ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าขันธ์
๕ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ
เห็นประจักษ์แจ้งซึ่ง ไตรลักษณ์
แห่งรูปนาม
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ