ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
วิปัลลาสธรรม
วิปัลลาสธรรม
หรือ
วิปลาสธรรม
คือ
เห็นวิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากสภาพแห่งความเป็นจริง
ซึ่งสภาพแห่งความเป็นจริงนั้น
สิ่งทั้งหลาย เป็นอสุภะ
ไม่สวยไม่งาม เป็นทุกขะ
ไม่สุขไม่สบาย เป็นอนิจจะ
ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน เป็นอนัตตะ
ไม่ใช่ตัวตนที่จะพึงบังคับบัญชาว่ากล่าวให้เป็นไปตามใจชอบได้
แต่ที่ทำให้เกิดวิปลาสไปโดย
ทิฏฐิวิปลาส วิปลาสไปเพราะเห็นผิด
จิตตวิปลาส วิปลาสไปเพราะเข้าใจผิด
สัญญาวิปลาส วิปลาสเพราะจำผิด
ทิฏฐิวิปลาส
วิปลาสไปเพราะเห็นผิด ๔ ประการ
คือ เห็นผิดว่าเป็นของสวยของงาม
ว่าเป็นสุขสบาย
ว่าเป็นของเที่ยงยั่งยืน
ว่าเป็นตัวเป็นตน
จิตตวิปลาส
วิปลาสไปเพราะเข้าใจผิด ๔ ประการ
คือ เข้าใจผิดว่าสวยว่างาม
ว่าสุขสบาย ว่าเที่ยงยั่งยืน
ว่าเป็นตัวเป็นตน
สัญญาวิปลาส
วิปลาสไปเพราะจำผิด ๔ ประการ คือ
จำผิดว่าสวยว่างาม ว่าสุขสบาย
ว่าเที่ยงยั่งยืน
ว่าเป็นตัวเป็นตน
ดังนั้น
จึงเป็นวิปลาสธรรม ๑๒
ประการด้วยกัน
ความกระทำในใจโดยแยบคายว่า
สิ่งทั้งหลาย
เป็นอสุภะ
ล้วนแต่ไม่สวยไม่งาม
สิ่งทั้งหลาย
เป็นทุกข์ ล้วนแต่ไม่สุขไม่สบาย
สิ่งทั้งหลาย เป็นอนิจจัง
ล้วนแต่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน
สิ่งทั้งหลาย เป็นอนัตตา
ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวตนที่จะพึงบังคับบัญชาว่ากล่าวให้เป็นไปตามใจชอบได้
การทำใจโดยแยบคาย
เช่นนี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ
๔ อย่างนี้ เป็นธรรมที่ตัด
ทิฏฐิวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส
และสัญญาวิปัลลาส เมื่อตัด
วิปัลลาสธรรมเหล่านี้ได้
ก็เป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่
เป็นไปเพื่อพระนิพพาน เหตุนี้
พระพุทธองค์จึงได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
โยนิโสมนสิกาโร
ภิกฺขเว มหโต อตฺถาย สํวตฺตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความกระทำในใจโดยแยบคาย
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่หลวง
และทรงแสดงว่า
เป็นไปเพื่อปราบวิจิกิจฉา
ความสงสัยที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็ไม่ให้เกิดขึ้น
ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมอันตรธานไป
ว่าเป็นธรรมที่สกัดกั้นอกุสลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
ไม่ให้มีโอกาสเกิดขึ้นได้
ส่วนที่เกิดแล้วก็ย่อมอันตรธานไป
ว่าเป็นธรรมที่ยังกุสลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น
ให้ได้เกิดขึ้น
กุสลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ให้ตั้งมั่นและเจริญยิ่งขึ้น
ว่าเป็นไปเพื่อทำ
สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น
ให้เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ให้เจริญมั่นคงยิ่งขึ้น
ว่าเป็นธรรมที่ยังโพชฌงค์
อันเป็นองค์เครื่องตรัสรู้
ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้ได้เกิดขึ้น
ที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ให้ได้ถึงซึ่งความบริบูรณ์
ว่าเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
เพื่อความไม่ลืมเลือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญอันตรธานไป
ถ้าหากมีความประมาท
ขาดโยนิโสมนสิการ
เป็นอโยนิโสมนสิการ ก็ยังให้
วิปัลลาสธรรม ๑๒
ประการนี้เกิดขึ้น
เป็นเหตุให้ไม่รู้ความจริงของรูปของนามว่า
เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ไม่ใช่ตัวตน ลักษณะที่ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ๓
อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ไตรลักษณ์
แต่บุคคลทั่ว ๆ
ไปไม่ใคร่แจ้งในไตรลักษณ์
เพราะว่า มีสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์อยู่
มัวแต่เพลิดเพลินในสิ่งที่ปิดบังนั้นเสีย
จึงทำให้ไม่ได้มองและมองไม่เห็นไตรลักษณ์
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ