ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อานิสงส์ของบารมี

อานิสงส์ของบารมีนั้น มี ๖ ประการ คือ

. อายุสมฺปทา                  อายุยืน

. รูปสมฺปทา                    มีรูปงาม

. กุลสมฺปทา                    เกิดในตระกูลสูง

. อิสฺสริยสมฺปทา              มียศและมีเกียรติ

. อาเทยฺยวจนตา             ได้รับการยกย่องโดยทั่วไป

. มหานุภาวตา                เป็นผู้ทรงอานุภาพ

เรื่องบารมีนี้ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ได้กล่าวไว้ด้วย จึงนำมาแทรกไว้ ณ ที่นี้แต่โดยย่อ ด้วยมีความมุ่งหมายว่า จะมีผลแก้ข้อข้องใจในบางท่านที่ว่าบุญบารมียังน้อยอยู่ จึงได้ลังเลใจจนถึงกับละเลยในการที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนา

พุทธศาสนิกชนผู้มีบุญทั้งหลาย ที่ได้ศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะมาจนถึงเพียงนี้แล้ว ไม่เป็นการสมควรเลยที่จะคาดคิดเอาเองว่ายังมีบุญบารมีน้อยอยู่ เพราะการคาดคิดเช่นนี้เป็นการเดาเอาโดยแท้ และเป็นการเดาที่ไม่เป็นคุณแก่ตนเลย แม้จะสมมติว่าบารมียังมีน้อยจริง ก็ไม่เป็นการสมควรละ หรือที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อสร้างสมบุญบารมีให้พอกพูนเพิ่มมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป จะได้เต็มเปี่ยมในกาลภายหน้าที่ไม่เนิ่นนานนัก

นักศึกษาพระอภิธรรมผู้มีปัญญาทั้งหลาย คงได้พิจารณาเห็นแล้วว่า สังขารนี้ไม่ยั่งยืน จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะพากเพียรให้ถึงซึ่งธรรมอันไม่จุติ ตัดขาดจากความเยื่อใยในสิ่งที่ผูกมัดอยู่เสียได้จนหมดสิ้นแล้ว ก็ไม่ต้องสืบต่อภพใหม่ชาติใหม่อีก จักเสวยแต่วิมุตติสุข อันประเสริฐสุดกว่าสุขทั้งปวง

มิฉะนั้นก็จะเป็นเหมือนอย่างที่ปรากฏใน สัทธัมมัปปกาสินี ว่ามีเหมือนไม่มี ๔ ประการ คือ

ทุกฺขเมว น โกจิ ทุกฺขิโต                     ทุกข์มีจริง แต่คนเป็นทุกข์ไม่มี

การโก น กิริยา ว วิชฺชติ                    ผู้ทำไม่มี แต่การกระทำมีอยู่แท้

อตฺถิ นิพฺพุติ น นิพฺพุโต ปุมา           ความดับมีอยู่ แต่ผู้ดับไม่มี

มคฺโค อตฺถิ คม โก น วิชฺชติ              ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินไม่มี

ดังนั้น จงเบื่อหน่ายในกามให้สมตามนัยที่ ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปท แสดงไว้ว่า อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา อิทิ วิญฺญาย ปณฺฑิโต อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รติ โส นาธิคจฺฉติ ฯ

กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ยินดีในกาม แม้เป็นของทิพย์


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...