ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

วสิตา หรือ วสีภาวะ

. วสี คือความชำนาญ ความแคล่วคล่องว่องไว

ผู้ที่ได้รูปาวจรฌานดังที่ได้กล่าวแล้ว จะเข้าฌานสมาบัติก็ดีจะเจริญสมถภาวนาต่อเพื่อให้ได้ทุติยฌานก็ดี จะต้องมี วสี ในปฐมฌานนั้นเสียก่อน คือต้องหมั่นเข้าปฐมฌานจนชำนาญ มีความแคล่วคล่องว่องไวถึง ๕ ประการ ได้แก่

() อาวชฺชนวสิตา ชำนาญในการนึกเข้าฌาน อีกนัยหนึ่งว่า ชำนาญในการกำหนดพิจารณาองค์ฌานแต่ละองค์ โดยวิถีจิตที่ติดต่อกันไปตามลำดับ โดยมีภวังคจิตคั่นไม่มากนัก

() สมาปชฺชนวสิตา ชำนาญในการเข้าฌานได้โดยรวดเร็ว

() อธิฏฺฐานวสิตา ชำนาญในการหยุดอยู่ในฌานเป็นเวลาช้าเร็วกี่ชั่วโมง กี่วัน ก็จะอยู่ในฌานสมาบัติได้ตามกำหนดที่ได้ตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้าไว้นั้น

() วุฏฺฐานวสิตา ชำนาญในการออกจากฌานได้โดยว่องไว ไม่ให้เกินเวลาที่ตนได้อธิษฐานไว้

() ปจฺจเวกฺขณวสิตา ชำนาญในการพิจารณาองค์ฌานด้วยชวนจิตอันเกิดในลำดับแห่งมโนทวาราวัชชนะติดต่อกันเป็นลำดับไป โดยมีภวังคคั่นไม่มากนัก

อาวัชชนวสี กับปัจจเวกขณวสี ทั้ง ๒ อย่างนี้ ต้องเกิดด้วยกันเสมอ เพราะที่เรียกว่า อาวัชชนวสีนั้นยกเอามโนทวาราวัชชนจิตเป็นประธาน ส่วนปัจจเวกขณวสีนั้น ยกเอาชวนจิตเป็นประธาน ซึ่งก็อยู่ในวิถีจิตเดียวกันนั่นเอง

เมื่อปฐมฌานลาภีบุคคล มีวสีในปฐมฌานแคล่วคล่องว่องไวเป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าฌานสมาบัติ หรือเจริญภาวนาต่อไปเพื่อให้ถึงทุติยฌานได้

. ปฐมฌานลาภีบุคคล จะต้องเข้าปฐมฌานบ่อย ๆ จนชำนาญในวสีภาวะทั้ง ๕ ก็จะเห็นโทษของวิตก จึงประสงค์จะละวิตกอันเป็นสิ่งที่หยาบนั้นเสีย เพื่อให้ถึงทุติยฌานซึ่งประณีตกว่า ต้องเริ่มเพ่งปฏิภาคนิมิต ที่ตนเคยได้นั้นแล้ว กระทำให้เป็นอารมณ์อย่างแนบแน่นแน่วแน่ในดวงใจ จนกระทั่งทุติยฌานจิตเกิดขึ้น

. ฌานลาภีบุคคล ปรารถนาจะเจริญให้ถึง ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ก็จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ ตามลำดับแห่งฌาน จะข้ามไปลัดไม่ได้

๑๐. กสิณ ๑๐ นี้ใช้เป็นกัมมัฏฐานในการเจริญสมถภาวนาได้ตั้งแต่ ปฐมฌาน ตลอดไปตามลำดับจนถึงปัญจมฌาน คือถึงรูปฌานได้ทั้ง ๕ ฌาน


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...