ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. ขันติบารมี

สตฺตสงฺขาราปราธสหนํ อโทสปฺปธาโน ตทาการปฺปวตฺตา จิตฺตุปฺปาโท ขนฺติ ปารมิตา ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา)

การอดทนในการล่วงเกินของปวงสัตว์ และสังขารธรรม ด้วยอโทสจิตตุป  ปาทะนั้น เรียกว่า ขันติบารมี

ตามปกติ ผู้ที่ประสบกับ อิฏฐวิสยะ คือ อารมณ์ที่ชอบใจ ย่อมแสดงอาการที่แจ่มใสร่าเริงออกมาให้ปรากฏ ครั้นได้ประสบกับ อนิฏฐวิสยะ คือ อารมณ์ที่ไม่ชอบ ย่อมแสดงความบึ้งตึงมึนชาออกมาให้เห็นเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ถ้าเกี่ยวกับบุคคลหรือสัตว์เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความหวั่นไหวดังกล่าวนั้น ก็จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ปิยบุคคล ผู้ที่เป็นที่รักที่ชอบใจ, เวรีบุคคล ผู้ที่เกลียดชังกันเป็นศัตรูต่อกัน และ มัชฌัตตบุคคล ผู้ที่ไม่เป็นที่รักที่ชัง

ส่วนอโทสจิตตุปปาทะ  เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยไม่มีความโกรธเคือง ไม่เพียงแต่ไม่แสดงออกทางกายและวาจาเท่านั้น แม้ในจิตใจก็ไม่โกรธเกลียดชังเลยแม้แต่สักน้อยหนึ่ง ทั้งนี้เพราะไม่ได้ปล่อยกายวาจาใจให้เพลิดเพลินหลงอยู่แต่ในอารมณ์ที่ชอบจนเกินไป เลยหมดความยับยั้งใจในเมื่อกระทบกับอารมณ์ที่ชังที่ไม่ชอบ แต่ถ้าได้อบรมฝึกฝนจนมีสติ และรู้ตัวเป็นอย่างดี จึงสามารถมีความอดทนต่อความดีใจหรือเสียใจได้ในทันทีที่ประสบกับอารมณ์นั้น ๆ ดังนี้ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มี ขันติ

ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ สิ่งอื่น ๆ ไม่ยิ่งไปกว่า ขันติ ความอดทน

ผู้มีทรัพย์ อันเป็นผลที่ได้รับมาจากทานกุสลที่ตนได้เคยทำไว้นั้น มักจะเป็นผู้ที่มีจิตใจผ่องใสชื่นบาน เพราะไม่ต้องกังวลหรือมีความเดือดร้อนในเรื่องอาชีพ และย่อมมีโอกาสได้ศึกษาวิชาทั้งทางโลกและทางธรรม ซึ่งทำให้จิตใจของผู้นั้นสูงและใฝ่ดี มีใจคอหนักแน่น จึงเป็นผู้ที่มีขันติอดทน ไม่เหลิงไปตามคำสรรเสริญ และไม่วู่วามไปตามคำนินทา ดังนี้จึงกล่าวได้ว่า ทานบารมีอุปการะให้เกิดขันติบารมี

ขมนลกฺขณา ขนฺตีปารมี ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา) ขันติบารมี ย่อมมีการ อดทน เป็นลักษณะ



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...