ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

วิปัสสนูปกิเลส

วิปัสสนูปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา และเป็นสหชาตธรรมของวิปัสสนาด้วย เพราะผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเกิดญาณแก่กล้าถึงตรุณอุทยัพพยญาณแล้ว เป็นที่แน่นอนที่ต้องเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันเป็น อมัคค ไม่ใช่ทางที่ให้ถึงความบริสุทธิหมดจด วิปัสสนูปกิเลสนั้นมี ๑๐ อย่าง ดังมีคาถาที่ ๒๔ แสดงว่า

๒๔. โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ อธิโมกโข จ ปคฺคโห สุขํ ญาณนุปฏฺฐาน มุเปกฺขา จ นิกนฺติ จ ฯ

โอภาส ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข ปัคคหะ สุข ญาณ อุปัฏฐาน อุเบกขา นิกันติ

มีความหมายว่า เครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา ที่ชื่อว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งมีจำนวน ๑๐ ประการ ได้แก่

. โอภาส        มีแสงสว่างรุ่งโรจน์แรงกล้า สว่างกว่าแต่กาลก่อน

. ปีติ                   อิ่มใจเป็นอย่างยิ่งกว่าที่ได้เคยพบเห็นมา

. ปัสสัทธิ             จิตสงบเยือกเย็นมาก

. อธิโมกข          น้อมใจเชื่อ อย่างเลื่อมใสเด็ดขาด ปัญญาก็เกิดได้ยาก

. ปัคคหะ           พากเพียรอย่างแรงกล้า

. สุข                    มีความสุขสบายเหลือเกิน ชวนให้ติดสุขเสีย

. ญาณ               มีปัญญามากไป จะทำให้เสียปัจจุบัน

. อุปัฏฐาน         ตั้งมั่นในอารมณ์รูปนามจนเกินไป ทำให้ปรากฏนิมิตต่าง ๆ

. อุเบกขา           วางเฉยมาก เป็นเหตุให้หย่อนความเพียร

๑๐. นิกันติ             ชอบใจติดใจในกิเลส ๙ อย่างข้างบนนั้น

วิปัสสนูปกิเลส ๙ ประการ ตั้งแต่ โอภาส ถึง อุเบกขานั้น แม้ว่าจะเกิดปรากฏขึ้นมาแล้ว ถ้านิกันติยังไม่เข้าร่วมด้วย คือ ไม่ชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินไปด้วย ก็ไม่เป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา ต่อเมื่อใด

มี      นิกันติ         เข้าไปชอบใจติดใจ                โอภาส        ก็ดี

มี      นิกันติ         เข้าไปชอบใจติดใจ                ปีติ             ก็ดี

มี      นิกันติ         เข้าไปชอบใจติดใจ                ปัสสัทธิ        ก็ดี

มี      นิกันติ         เข้าไปชอบใจติดใจ                อธิโมกข       ก็ดี

มี      นิกันติ         เข้าไปชอบใจติดใจ                ปัคคหะ        ก็ดี

มี      นิกันติ         เข้าไปชอบใจติดใจ                สุข             ก็ดี

มี      นิกันติ         เข้าไปชอบใจติดใจ                ญาณ         ก็ดี

มี      นิกันติ         เข้าไปชอบใจติดใจ                อุปัฏฐาน       ก็ดี

มี      นิกันติ         เข้าไปชอบใจติดใจ                อุเบกขา       ก็ดี

เมื่อนั้นจึงนับว่าองค์ประกอบทั้ง ๙ นี้เป็น วิปัสสนูปกิเลส ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง ยินดีพอใจอยู่เพียงแค่นี้ โดยเข้าใจเสียว่าตนเองสำเร็จมัคคผลแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส เป็นที่อาศัยแห่งคาหธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ และเป็นช่องให้อกุสลธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ผู้มีปัญญาย่อมพิจารณาองค์ประกอบของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๙ และองค์วิปัสสนูปกิเลสแท้ ๆ อีก ๑ คือ นิกันติว่าสักแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นนี้แล้ว วิปัสสนาก็ไม่เศร้าหมอง แต่จะเจริญขึ้นตามลำดับ

๒๕. อิจฺเจวํ ทสุปเกฺลสา ปริปนฺถ ปริคฺคหา อมคฺคา ว อิเมธมฺมา ธมฺมสฺส ปริปนฺติกา ฯ

อุปกิเลส ๑๐ ประการ ดังบรรยายมาฉะนี้ กำหนดถือว่า เป็นอันตราย ธรรมเหล่านี้เป็นอันตรายแห่งวิปัสสนาธรรม เป็นอมัคค มิใช่ทางเลย

มีความหมายว่า วิปัสสนูปกิเลส ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นอันตรายของวิปัสสนาโดยแท้ แต่จะบังคับบัญชามิให้เกิดขึ้นก็ไม่ได้ เมื่อเจริญถึงตรุณอุทยัพพยญาณ วิปัสสนูปกิเลสย่อมเกิดขึ้นตามธรรมชาติคู่กับวิปัสสนา จะเรียกว่าเป็นสหายของวิปัสสนาก็ได้ แต่ว่า วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดแก่บุคคล ๓ จำพวก คือ

. พระอริยบุคคล  เพราะได้เคยดำเนินในทางที่ถูกแล้ว

. ผู้ปฏิบัติผิดจากทางวิปัสสนา

. ผู้มีความเพียรอ่อน เพราะความเพียรที่แรงกล้าเท่านั้นจึงจะเป็น วิปัสสนูปกิเลส

เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น พระโยคีผู้ที่ไม่ประกอบด้วยสปาย ๗ (โดยเฉพาะในที่นี้หมายถึง กัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้อุปถัมภ์) แล้ว ก็ยากที่จะล่วงพ้นไปได้ เพราะชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินในวิปัสสนูปกิเลสนี้เสีย อุปมาเหมือนการเดินทางไกลและกันดาร เมื่อเดินไปพบศาลาพักร้อนข้างทาง ก็แวะเข้าไปพักผ่อนหลับนอนเสีย ไม่เดินทางต่อไป ก็ไม่บรรลุถึงจุดหมายปลายทาง ด้วยเหตุนี้วิปัสสนูปกิเลสจึงเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นอันตราย เป็นอมัคค คือ มิใช่ทางแห่งวิปัสสนา ส่วนทางของวิปัสสนานั้นคือ การเห็นแจ้งในรูปธรรมกับนามธรรมโดยลักษณะทั้ง ๓ คือ ไตรลักษณ์ เห็นแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปในอุทยัพพยญาณนั้น จึงจะพ้นอำนาจของวิปัสสนูปกิเลส

๒๖. สมฺมวีถิ ปฏิปนฺนํ ตตโต ญาณทสฺสนํ มคฺโค ธมฺมา ธิกมาย มคฺคามคฺค วินิจฺฉยํ ฯ

ความรู้ความเห็นโดยปัญญาอันกว้างขวาง ดำเนินขึ้นสู่วิถีโดยชอบเป็นทางเพื่อบรรลุธรรม ชื่อว่าการวินิจฉัยว่า ทางหรือมิใช่ทาง (คือมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ)

มีความหมายว่า เมื่อพระโยคีผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนเกิดญาณแก่กล้า เป็นพลววิปัสสนาในอุทยัพพยญาณแล้ว พ้นจากอำนาจของวิปัสสนูปกิเลส ไม่ติดไม่ข้องอยู่เลย เพราะมาวินิจฉัยดูว่ามิใช่ทางเลย เป็นสังขารธรรมที่เกิดขึ้น แทรกแซงให้วิปัสสนาเศร้าหมองเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดาดังนี้ เป็นอันว่าถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นความบริสุทธิในข้อที่รู้ว่าทางหรือมิใช่ทาง อุปมาเหมือนผู้เดินทางมาถึงทาง ๒ แพร่ง วินิจฉัยแล้วรู้ว่า ทางนี้เป็นทางที่ถูก ปลอดภัย ควรเดิน ทางนั้นเป็นทางที่ผิด มีอันตราย ไม่ควรเดิน จึงมุ่งหน้าไปตามทางที่ถูกต้อง คือ พิจารณาไตรลักษณ์แห่งรูปนาม โดยการกำหนดเพ่งความเกิดดับด้วยความพาก เพียรต่อไป

สรุป ในอุทยัพพยญาณนี้ คงได้ความว่า จำแนกอุทยัพพยญาณได้เป็น ๒ คือ ตรุณอุทยัพพยญาณ และพลวอุทยัพพยญาณ ตรุณอุทยัพพยญาณนี้แหละที่วิปัสสนูปกิเลสเกิด ตรุณอุทยัพพยญาณที่ยังมีวิปัสสนูปกิเลสเกิดปะปนอยู่ด้วยนั้น เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ กำลังอยู่ในระหว่างวินิจฉัยว่า ทางหรือมิใช่ทางกันแน่ กล่าวอย่างสามัญก็ว่ายังอยู่ในระหว่างลูกผีลูกคน ต่อเมื่อวินิจฉัยได้เด็ดขาดแล้วว่า วิปัสสนูปกิเลสเป็น อมัคค หาใช่ทางไม่ ก็เจริญอุทยัพพยญาณต่อไป อุทยัพพยญาณที่ไม่มีวิปัสสนูปกิเลสเกิดปะปนด้วยนั้น ชื่อว่า พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่พ้นจากอำนาจแห่งวิปัสสนูปกิเลสแล้วเช่นนี้ จึงเป็น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

ตรุณอุทยัพพยญาณ บ้างก็เรียกว่า มัคคามัคคววัตถานญาณ นี้สามารถละ อมัคเคมัคคสัญญา สัญญาที่เข้าใจผิดนั้นได้

พลวอุทยัพพยญาณ บ้างก็เรียกว่า อุทยญาณ คือ ญาณที่เจริญขึ้น ญาณนี้สามารถละ อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นผิดว่าตายแล้วสูญนั้นเสียได้


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...