ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
๓.
ปรจิตตวิชานนญาณ
หรือ เจโตปริยญาณ
ญาณที่รู้จิตใจผู้อื่น
ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยทิพพจักขุอีกต่อหนึ่ง
และทิพพจักขุก็เกิดขึ้นจากการเจริญเตโชกสิณ
โอทาตกสิณ อากาสกสิณ หรือ
อาโลกกสิณ กสิณใดกสิณหนึ่งใน ๔
กสิณนี้เป็นบาทมาก่อน
เมื่อมีทิพพจักขุแล้วจึงจะทำให้เกิด
เจโตปริยญาณได้
วิธีบำเพ็ญให้เกิด
เจโตปริยญาณ ต้องอาศัยเช่น
อาโลกกสิณ เป็นต้น เป็นบาท
ก็จะเกิดทิพพจักขุเห็นสีของน้ำ
คือ
หทยวัตถุอันเป็นที่อาศัยให้เกิดจิต
ถ้าเห็นน้ำนั้นเป็นสีแดงขณะนั้นจิตใจของผู้นั้นเป็นโสมนัส
น้ำเป็นสีดำจิตเป็นโทมนัส
น้ำเป็นสีน้ำมันงาจิตเป็นอุเบกขา
เมื่อรู้สมุฏฐานดังนี้แล้ว
ก็พึงกระทำเพื่อให้รู้แจ้งโดยเจโตปริยญาณ
ในอาการของจิต ๑๖ อย่าง
มีจิตที่มีราคะ จิตที่ไม่มีราคะ
จิตที่มีโทสะ จิตที่ไม่มีโทสะ
เหล่านี้เป็นต้น เช่นเดียวกับใน
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ดังที่กล่าวไว้ในคู่มือ
ปริจเฉทที่ ๗ นั้นแล้ว
(จิต
๑๖ อย่าง มี ๑.จิตที่มีราคะ
๒.จิตที่ไม่มีราคะ
๓.จิตที่มีโทสะ
๔.จิตที่ไม่มีโทสะ
๕.จิตที่มีโมหะ
๖.จิตที่ไม่มีโมหะ
๗.จิตที่มีถีนมิทธะ
๘.จิตที่ฟุ้งซ่าน
๙.จิตที่เป็นรูปาวจร
อรูปาวจร ๑๐.จิตที่ไม่ใช่รูปาวจร
อรูปาวจร (หมายถึง
กามาวจร)
๑๑.จิตที่เป็นกามาวจร
๑๒.จิตที่ไม่ใช่โลกุตตร(หมายถึง
รูปาวจร และอรูปาวจร)
๑๓.จิตที่เป็นสมาธิ
๑๔.จิตที่ไม่เป็นสมาธิ
๑๕.จิตที่ประหารกิเลส
พ้นกิเลส ๑๖.จิตที่ไม่ได้ประหารกิเลส
ไม่พ้นกิเลส)
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ