ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
อริยบุคคล
๘
อริยบุคคล
๘ จัดได้เป็น ๔ คู่ ดังนี้
โสดาปัตติมัคค
โสดาปัตติผล
คู่หนึ่ง
สกทาคามิมัคค
สกทาคามิผล
คู่หนึ่ง
อนาคามิมัคค
อนาคามิผล
คู่หนึ่ง
อรหัตตมัคค
อรหัตตผล
คู่หนึ่ง
ในวิสุทธิมัคค
ยังจำแนกอริยบุคคล ๘ นี้เป็น ๗
ประเภท คือ
๑.
สัทธานุสารี
๒.สัทธาวิมุตติ
๓.
กายสักขี
๔.
อุภโตภาควิมุตติ
๕.
ธัมมานุสารี
๖.
ทิฏฐิปัตตะ
๗.
ปัญญาวิมุตติ
ท่านผู้ที่ยิ่งด้วยสัทธา
เมื่อบรรลุโสดาปัตติมัคค
เรียกว่า สัทธานุสารี
ตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึง
อรหัตตผล เรียกว่า สัทธาวิมุตติ
ท่านที่ได้รูปฌาน
แล้วเจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุมัคคผล
เรียกว่า กายสักขี เหมือนกันทั้ง
๘ บุคคล
ท่านที่ได้ทั้งรูปฌานและอรูปฌานด้วย
แล้วเจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุมัคคผล
เรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ
เหมือนกันทั้ง ๘ บุคคล
ท่านผู้ที่ยิ่งด้วยปัญญา
พิจารณาโดยอนัตตลักษณะ
เมื่อบรรลุโสดาปัตติมัคค
เรียกว่า ธัมมานุสารี
ตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึง
อรหัตตมัคค เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ
เฉพาะอรหัตตผล เรียกว่า
ปัญญาวิมุตติ
ที่จำแนกเช่นนี้
ก็โดยอาศัย สีล สมาธิ ปัญญา
เป็นหลัก กล่าวคือ
ท่านที่เป็น
สัทธานุสารี และ สัทธาวิมุตติ ๒
ประเภทนี้มีสีล เป็นอธิบดี
ท่านที่เป็น
กายสักขี และอุภโตภาควิมุตติ ๒
ประเภทนี้มีสมาธิ เป็นอธิบดี
ท่านที่เป็น
ธัมมานุสารี ทิฏฐิปัตตะ
และปัญญาวิมุตติ ๓ ประเภทนี้มี
ปัญญา เป็นอธิบดี
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
ท่านที่หนักไปในทางพระวินัยก็ได้แก่
สัทธานั้นมีสีล เป็นอธิบดี
ท่านที่หนักไปในทางพระสูตร
ก็ได้แก่ประเภทที่มี สมาธิ
เป็นอธิบดี
ท่านที่หนักไปในทางพระอภิธรรม
ก็ได้แก่ท่านที่มี ปัญญา
เป็นอธิบดี
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ