ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กรุณากัมมัฏฐาน

ปรทุกฺขาปนยนาการปฺปวตฺติลกฺขณา   มีความเป็นไปแห่งกายวาจาใจในอันที่จะบำบัดทุกข์ของผู้อื่นให้ปราศไป เป็นลักษณะ

ปรทุกฺขาสหนรสา           มีการอดกลั้นนิ่งดูดายอยู่ไม่ได้ต่อทุกข์ของผู้อื่นและอยากช่วยเหลือ เป็นกิจ

อวิหิสาปจฺจุปฏฺฐานา       มีการไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นอาการปรากฏแก่ผู้ที่ทำการพิจารณากรุณา

ทุกฺขาภิภูตานํ อนาถภาวทสฺสนปทฏฺฐานา การพิจารณาเห็นบุคคลที่ตกอยู่ในความทุกข์ไร้ที่พึ่ง เป็นเหตุใกล้

วิหิสูปสโม สมฺปตฺติ         ความสงบลงแห่งโทสจิตตุปปาท ในอันที่จะทำการเบียดเบียนสัตว์ เป็นความสมบูรณ์แห่งกรุณา

โสกสมฺภโว วิปตฺติ      การเกิดขึ้นแห่งความเศร้าโศก เป็นความเสื่อมเสียของกรุณา

เคหสิตํ โทมนสฺสํ อาสนฺน ปจฺจตฺถิกํ   ความเสียใจที่เนื่องด้วยกามคุณ อารมณ์เป็นศัตรูใกล้

วิหิสา ทูรปจฺจตฺถิกํ      ความเบียดเบียนสัตว์ เป็นศัตรูไกล

. กรุณา มีอานิสงส์ ๑๑ ประการ เช่นเดียวกันและเหมือนกันกับอานิสงส์ของเมตตา

. ในการแผ่กรุณานั้น ชั้นต้นให้กำหนดถึงผู้ที่ได้รับความลำบากอยู่ว่า ถ้าพ้นจากความลำบากนี้เสียได้ก็จะดีมาก แล้วก็บริกรรมว่า อยํ สตฺโต ทุกฺขา มจฺจตุ ขอให้ผู้นี้จงพ้นจากความทุกข์เถิด

ถ้าไม่มีผู้ที่กำลังได้รับความทุกข์อยู่ ก็ต้องแผ่ให้แก่ผู้ที่จะได้รับความทุกข์ในวันข้างหน้า โดยบริกรรมเช่นเดียวกันกับที่กล่าวไว้ข้างบนนี้

. ลำดับต่อไปให้แผ่ให้แก่ ปิยบุคคล โดยบริกรรมว่า มม ปิยปุคฺคลา ทุกฺขา มุจฺจตุ ขอบุคคลทั้งหลาย อันเป็นที่รักของข้าพเจ้าจงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงเถิด

. ต่อไปให้แผ่ให้แก่ มัชฌัตตบุคคล โดยบริกรรมว่า มม มชฺฌตฺต ปุคฺคลา ทุกฺขา มุจฺจตุ ขอบุคคลทั้งหลายที่ข้าพเจ้ามิได้รักมิได้ชัง จงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงเถิด

. ครั้นแล้วให้แผ่ให้แก่ เวรีบุคคล โดยบริกรรมว่า มม เวรีปุคฺคลา ทุกฺขา มุจฺจตุ ขอบุคคลทั้งหลายที่เป็นศัตรูแก่ข้าพเจ้า จงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงเถิด

. การแผ่เมตตา มีหัวข้อที่พึงกำหนด ๔ อย่าง แต่การแผ่ความกรุณามีหัวข้อที่พึงกำหนดอย่างเดียวว่า จงพ้นจากความทุกข์ เท่านั้น และแผ่ขยายให้กว้างออกได้เป็น ๓ นัย คือ

อโนทิโสผรณากรุณา ๑ โอทิโสผรณากรุณา ๑ และ ทิสาผรณากรุณา ๑ ทำนองเดียวกับเมตตา

อโนทิโสผรณากรุณา แผ่กรุณาไปโดยไม่จำกัดบุคคล มี ๕ ฐาน แต่ละฐานมีกระแสเดียวจึงคงเป็น ๕ กระแส

โอทิโสผรณากรุณา แผ่กรุณาไปโดยจำกัดบุคคล มี ๗ ฐาน แต่ละฐานมีกระแสเดียว จึงคงเป็น ๗ กระแส

ทิสาผรณากรุณา แผ่กรุณาไปทั้งจำกัดบุคคล ๗ และไม่จำกัดบุคคล ๕ รวมเป็น ๑๒ ฐาน แผ่ไป ๑๐ ทิศ จึงเป็น ๑๒๐ กระแส

รวมทั้ง ๓ นับได้ ๑๓๒ กระแส จึงเป็นอันว่าการแผ่กรุณาทั้งหมดนั้นมีได้ ๑๓๒ กระแส

. การแผ่ความกรุณา ก็ต้องแผ่จนให้สำเร็จถึง สีมสัมเภท เช่นเดียวกันทำนองเดียวกับเมตตา

. ผู้ที่เราปรารถนาแผ่ความกรุณาให้นั้น เป็นอารมณ์ คือ เป็นนิมิต จึงเรียกว่า บริกรรมนิมิต คือเอาเป็นอารมณ์พร่ำบ่นในใจ จิตที่หน่วงเอาบริกรรมนิมิตมาพร่ำบ่นนั้นเรียกว่า บริกรรมภาวนา และที่เป็นบริกรรมภาวนาขึ้นมาได้ ก็ด้วยอำนาจแห่งบริกรรมสมาธิ

. บริกรรมตามนัยแห่งข้อ ๒ ถึงข้อ ๕ ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ จนจิตใจแน่วแน่ในการแผ่ความกรุณาแก่บุคคลเหล่านั้นแล้ว แม้จะยังไม่ถึง สีมสัมเภทก็ตาม นิมิตนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็น อุคคหนิมิตแล้ว แต่ทางฝ่ายจิตยังเป็น บริกรรมภาวนา บริกรรมสมาธิ อยู่

๑๐. ครั้นจิตของโยคีบุคคลนั้นสำเร็จถึง สีมสัมเภทกรุณาแล้ว ก็ถือเสมือนว่านิมิตนั้นเป็นปฏิภาคนิมิต ส่วนภาวนานั้นเป็นอุปจารภาวนา สมาธินั้นเป็นอุปจารสมาธิ

๑๑. พยายามเจริญกรุณาภาวนาต่อไปโดย อโนทิโสผรณากรุณา ๕, โอทิโส ผรณากรุณา ๗ และ ทิสาผรณากรุณา ๑๐ จนกระทั่งได้ฌาน นิมิตนั้น คงเรียกว่า อุคคหนิมิต ภาวนานั้นเรียกว่า อัปปนาภาวนา และสมาธินั้นก็เรียกว่า อัปปนาสมาธิ

๑๒. กรุณากัมมัฏฐาน เจริญสมถภาวนาได้ถึง ปฐมฌาน เป็นต้นไปตามลำดับ จนถึงแค่จตุตถฌาน เท่านั้น


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...