ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. วิริยบารมี

กายจิตฺเตหิ ปรหิตารมฺโภ วิริยปารมิตา ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา)

ความเพียรเพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วยกายใจนั้น เรียกว่า วิริยบารมี

วิริยบารมี จัดได้เป็น ๓ ชั้น

. หีนวิริยะ ความเพียรอย่างต่ำ เป็นความเพียรประกอบการกุสล ที่มุ่งหวังชื่อเสียงเกียรติคุณ

. มัชฌิมวิริยะ ความเพียรอย่างกลาง เป็นความเพียรประกอบการกุสลที่มุ่งหวังความสุขในมนุษย์และในสวรรค์

. อุกกัฏฐวิริยะ ความเพียรอย่าง อุกกฤษฏ์ เป็นความเพียรประกอบ วิวัฏฏ นิสสิตกุสล หวังให้พ้นจากความเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ

วิริยะ นี้เป็นธรรมที่ให้ผลอย่างกว้างขวางและสำคัญมาก เพราะแม้แต่จะมีความตั้งใจกระทำสักเพียงใดก็ตาม ถ้าหากว่า ขาดความพากเพียรเสียแต่อย่างเดียวเท่านั้น การงานต่าง ๆ ก็จะไม่เป็นผลสำเร็จดังที่ได้ตั้งใจไว้ ส่วนมากมักจะไม่ใคร่ได้คำนึงถึงความเพียรกันอย่างจริงจัง ดังนั้นเมื่อประสบกับความคับขันเข้าบ้าง ก็มักจะท้อถอยเสีย ยิ่งเป็นการบำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาภาวนา อันเป็นการประกอบ  วิวัฏฏนิสสิตกุสลด้วยแล้ว ก็จะต้องเป็นความเพียรที่สมบูรณ์ด้วยองค์ ๔ ที่เรียกว่า จตุรังควิริยะ คือ แม้เนื้อจะเหือดเลือดจะแห้ง ๑ จะเหลือแต่เพียงหนัง ๑ จะเหลือแต่เพียงกระดูก ๑ จะเหลือแต่เพียงเอ็น ๑ ก็จะไม่ละเสียจากความเพียรที่กำลังกระทำอยู่นั้นเลย ผู้ที่พากเพียรยิ่งอย่างนี้ ย่อมล่วงทุกข์ได้ ดังในธรรมบทแสดงไว้ว่า วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ ย่อมล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

(จตุรังควิริยะ = ตามนัยแห่งสัมมัปปธานนั้น หมายถึง ๑.เพียรละอกุสลที่เกิดแล้ว, .เพียรไม่ก่ออกุสลใหม่ให้เกิดขึ้น, .เพียรประกอบกุสลใหม่ให้เกิดขึ้น, .เพียรเจริญกุสลใหม่นั้นให้ภิญโญยิ่ง ๆ ขึ้นไป)

ผู้ที่เคยสร้างทานกุสลไว้ ทานกุสลนั้นย่อมส่งผลให้ได้เกิดมาเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง ไม่ต้องมีความลำบากกังวลในเรื่องเงินทอง ก็สามารถทำความเพียรพยายามในการเจริญ สีล สมาธิ ปัญญา ได้โดยสะดวก ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่า วิริยบารมีจะเกิดมีได้ก็ด้วยอาศัยทานบารมีเป็นเครื่องอุดหนุน

อุสฺสาหลกฺขณา วิริยปารมี ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา) วิริยบารมี ย่อมมีการอุตสาหะ เป็นลักษณะ


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...