ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
บารมี
๑๐ ทัส
บารมี
คือ
คุณงามความดีที่ควรบำเพ็ญ
คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา
คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่
เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญในอันที่ช่วยเหลือเกื้อหนุนให้ถึงซึ่ง
โพธิญาณ
ดังที่ในชินลังการฎีกา
แสดงว่า
ปารํ
นิพฺพานํ อยนฺติ คจฺฉนฺติ
เอตาหีติ ปารมิโย
การกระทำที่ประกอบด้วย
กุสลเจตนาที่ยังให้ถึงฟากฝั่งพระนิพพานนั้น
เรียกว่า บารมี
บารมี
=
ปรม(ประเสริฐ)+อิ(การกระทำ)
= การกระทำที่ประเสริฐ
จริยปิฎกอรรถกถา
แสดงลักษณะของบารมีว่า สพฺเพปิ
ปารมิโย ปรานุคฺคหลกฺขณา
ปวงบารมี
ย่อมมีการอนุเคราะห์แก่บุคคลอื่น
เป็นลักษณะ
บารมี
๑๐ ทัส ก็คือ บารมี ๑๐
ประการนั้นเอง ได้แก่
๑.
ทานบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ มัจฉริยะ
๒.
สีลบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ ทุสีล
๓.
เนกขัมมบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ กามะ
๔.
ปัญญาบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ อญาณะ
๕.
วิริยบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ โกสัชชะ
๖.
ขันติบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ อขันติ
๗.
สัจจบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ วิสังวาทะ (ตบตา,
หลอกลวง,พูดปด)
๘.
อธิฏฐานบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ อนธิฏฐาน
๙.
เมตตาบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ โทสะ
๑๐.
อุเบกขาบารมี
ปฏิปักขธรรม คือ โลกธรรม
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ