ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
บารมีจัดได้เป็น
๓ ชั้น
บารมีที่กล่าวมาแล้วนี้
ยังจัดได้เป็น ๓ ชั้น คือ
ก.
บารมี
๑๐ ทัส หรือ บารมี
ข.
บารมี
๒๐ ทัส หรือ อุปบารมี
ค.
บารมี
๓๐ ทัส หรือ ปรมัตถบารมี
บารมี
๓ ชั้นนี้มี วัตถุ
ทำให้แตกต่างกัน
กล่าวคือ จำแนกเป็น วัตถุภายนอก
(พหิทฺธ)
และ
วัตถุภายใน
(อชฺฌตฺติก)
การสร้างสมบารมีด้วยการให้วัตถุภายนอกล้วน
ๆ เช่น การให้ธนสารสมบัติ
บุตรภริยา เหล่านี้ได้ชื่อว่า
สร้างบารมี
ท่านอรรถกถาจารย์ได้ให้อรรถาธิบายเกี่ยวแก่ความแตกต่างกันนี้
โดยยกเอาทานบารมีเป็นที่ตั้งเป็นตัวอย่างแต่อย่างเดียว
ส่วนบารมีอย่างอื่นที่เหลือนอกนั้น
ให้พึงเข้าใจโดยอนุโลมตามแนวทางของทานบารมี
ปุตฺตทาร
ธนาทิ อุปกรณ ปริจฺจาโค ปน
ทานบารมี ฯ
เจตนาที่สามารถสละให้ซึ่ง
บุตร ภริยา ธนสารสมบัติ
เป็นต้นนั้น เรียกว่า ทานบารมี
องฺคปริจฺจาโค
ทานอุปปารมี ฯ
เจตนาที่สามารถ
สละ อุทิศ ซึ่งส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายนั้น เรียกว่า ทานอุปบารมี
อตฺตโน
ชีวิต ปริจฺจาโค ทานปรมตฺถปารมี ฯ
เจตนาที่สามารถ
สละ อุทิศ ซึ่งชีวิตของตนนั้น
เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี
ผู้บำเพ็ญบารมีเพียงแค่ชั้น
บารมี
เรียกว่า บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัส
การบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัสนี้
ย่อมสาธารณะแก่บุคคลทั่วไปที่ปรารถนา
โพธิญาณ
ซึ่งได้แก่ อัคคสาวก มหาสาวก
และปกติสาวก
ผู้บำเพ็ญบารมีถึงชั้น
อุปบารมี
เรียกว่า บำเพ็ญบารมี ๒๐ ทัส
เพราะผู้บำเพ็ญบารมีมาถึงชั้นนี้แล้ว
ย่อมต้องมีการบำเพ็ญ บารมี ๑๐ ทัส
มาแล้วอย่างมากมาย
จึงสามารถบริจาคส่วนของร่างกายได้
การบำเพ็ญ อุปบารมี หรือ บารมี ๒๐
ทัสนี้
ย่อมสาธารณะแก่บุคคลที่ปรารถนา ปัจเจกโพธิญาณ
ผู้บำเพ็ญบารมี
จนถึงชั้น ปรมัตถบารมี
เรียกว่า
บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัส
อันเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สุดยอดแล้ว
การบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัสนี้
ย่อมสมบูรณ์เฉพาะแต่ผู้ที่ปรารถนา
สัมมาสัมโพธิญาณ
เท่านั้น
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ