ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
อนุโลมญาณ
อนุโลมญาณ
เป็นญาณที่ ๑๒ แห่งโสฬสญาณ
เป็นญาณที่ ๙ คือ
ญาณสุดท้ายแห่งวิปัสสนาญาณ ๙
และเป็นญาณสุดท้ายของปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
อันเป็นลำดับที่ ๖ แห่งวิสุทธิ ๗
เมื่อครุ่นคิดจะหนี
หาอุบายหนี เมื่อหนียังไม่พ้น
ก็เฉยอยู่ก่อน
แต่ยังเพ่งความเกิดดับ
โดยไม่ลดละ
ก็จะถึงอนุโลมญาณนี้โดยเกิดปัญญาขึ้นมาเองว่า
ต้องอนุโลม คือ ต้องคล้อยตาม
อริยสัจจ จึงจะหนีพ้น
ก็อริยสัจ คือ
ทุกขสัจจ สมุทยสัจจ นิโรธสัจจ
และมัคคสัจจ นั้น มีญาณกำกับไว้
สัจจละ ๓ ญาณ ได้แก่ สัจจญาณ
กิจจญาณ และ กตญาณ
สัจจญาณ
ได้แก่ ปัญญาที่รู้แจ้งว่า ทุกข์
คือรูปนามที่เป็นโลกีย สมุทัย
คือ ตัณหา นิโรธ คือ นิพพาน
และมัคค คือ อริยมัคคมีองค์ ๘
รู้อย่างนี้
เป็นการรู้ตามความเป็นจริง
จึงได้เรียกว่า สัจจญาณ
กิจจญาณ
ได้แก่ ปัญญาที่รู้แจ้งว่า
ทุกข์พึงกำหนดรู้ สมุทัยพึงละ
นิโรธพึงทำให้แจ้ง มัคคพึงเจริญ
รู้อย่างนี้เป็นการรู้ตามหน้าที่การงาน
จึงได้เรียกว่ากิจจญาณ
กตญาณ
ได้แก่ ปัญญาที่รู้แจ้งว่า
ทุกข์ที่พึงกำหนดรู้นั้นก็ได้กำหนดจนรู้แล้ว
สมุทัยที่พึงละนั้นก็ได้ละแล้ว
นิโรธที่พึงทำให้แจ้งนั้นก็ได้แจ้งแล้ว
และมัคคที่พึงเจริญนั้น
ก็ได้เจริญจนเป็นสมังคีแล้ว
รู้อย่างนี้เป็นการรู้ตามการกระทำจึงได้เรียกว่า
กตญาณ
ทุกขสัจจ
ได้แก่ รูปนาม
ดังนั้นปัญญาที่เห็นแจ้งในรูปนาม
ก็ได้ชื่อว่า กำหนดรู้ทุกข์แล้ว
ในขณะที่กำหนดดูรูปนามอยู่
ขณะนั้นตัณหาก็ไม่มีมาเกิดร่วมด้วย
ก็ได้ชื่อว่า ละสมุทัยแล้ว
เพราะตัณหานั้นละได้ด้วยการเห็นทุกข์
ยิ่งเห็นรูปนามเป็นทุกข์มากเพียงใด
ก็ละตัณหาได้มากเพียงนั้น
ละตัณหาได้มากเท่าใด
ก็ใกล้ที่จะแจ้ง
นิโรธมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
เพราะนิโรธเป็นธรรมที่ดับตัณหา
ครั้นตัณหาดับสิ้นเมื่อใด
เมื่อนั้นก็แจ้งนิโรธ ขณะที่ทำกิจเพื่อแจ้งนิโรธ ขณะนั้นก็ทำกิจให้มัคคสัจจเจริญขึ้นด้วย
เพราะว่ามัคคสัจจเป็นมรรคาที่ให้ถึงนิโรธ
แจ้งนิโรธขณะใด
ขณะนั้นมัคคสัจจก็สมบูรณ์อย่างพร้อมเพรียง
หรือจะกล่าวว่า
มัคคสัจจเป็นสมังคีเมื่อใด เมื่อนั้นก็แจ้งนิโรธ
กล่าวอย่างย่อที่สุดก็ว่า เห็นทุกข์
ตัณหาก็ดับ นิโรธก็แจ้ง
มัคคก็เป็นสมังคี
ในญาณทั้ง
๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ
นั้น สัจจญาณ
และกิจจญาณเป็นญาณในโลกีย ส่วน
กตญาณ เป็นญาณในโลกุตตร
โลกียญาณทั้ง ๒
สมบูรณ์มาแต่สังขารุเบกขาญาณแล้ว
ดังนั้น
อนุโลมญาณนี้จึงกล่าวว่าเป็นปัญญาที่แจ้งในการคล้อยตาม อนุโลมตามอริยสัจจ
และเป็นญาณที่สามารถละ สัจจปฏิโลมคาหะ
การยึดโดยไม่คล้อยตามสัจจะนั้นเสียได้
๒๘.
เอวํ
ปฏิปชฺชนฺตสฺส สมฺมา ธมฺเม
วิปสฺสโต วิปสฺสนา ปริปากํ อาคมฺม
ตสฺส โยคิโน ฯ
ก็เมื่อพระโยคีนั้น
ปฏิบัติอยู่อย่างนี้
อาศัยความสุกรอบแห่งวิปัสสนา
เห็นแจ้งธรรมทั้งหลายโดยชอบ
แม้จิตอันสัมปยุตตด้วย
วิปัสสนาทั้งหลาย
ย่อมปรารถซึ่งลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีอนิจจลักษณะเป็นต้น
ในพระไตรลักษณ์ เป็นไป ๒-๓
ขณะ โดยชื่อว่า บริกรรม
อุปจาระ และอนุโลม
มีความหมายว่า
เมื่อพระโยคีผู้ประกอบความเพียร
เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ตั้งอยู่แล้วในวิปัสสนาญาณทั้งปวง
ที่กล่าวมาโดยบริบูรณ์
ถึงแล้วซึ่งความแห้งไปแห่งยาง
คือ ตัณหามีผลอันไพบูลย์
รอบรู้ในสภาวรูปธรรมนามธรรมโดยถูกต้อง
มีความสุกรอบ
ดุจผลไม้ที่สุกงอมใกล้จะหล่นจากขั้วฉะนั้น
จิตมหากุสลที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ
ย่อมแจ้งเฉพาะรูปธรรมนามธรรมที่ดับไป
ๆ มีลักษณะเป็นอนิจจัง
ตั้งอยู่ไม่ได้บ้าง
เห็นรูปนามดับไป ๆ เป็นทุกขัง
ทนอยู่ไม่ได้บ้าง
เป็นรูปนามดับไป ๆ เป็นอนัตตา
บังคับบัญชาไม่ได้บ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นอารมณ์ตามควรแก่บารมีที่ได้สร้างสมมาแต่ปางก่อน
ถ้าบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วยสีล
ย่อมประจักษ์อนิจจัง
แรงด้วยสมาธิย่อมประจักษ์ทุกขัง
และแรงด้วยปัญญา
ย่อมประจักษ์อนัตตา
ดังที่กล่าวแล้วแต่ต้นตอน
อนุปัสสนา
เมื่อ
วิปัสสนาญาณตั้งอยู่แก่กล้าฉะนี้แล้ว
ด้วยอำนาจแห่งอินทรียและพละ
ก็จะส่งให้ขึ้นสู่อนุโลมญาณตามกำลังแห่งอริยสัจจ
คือจะไปจากข้าศึกอย่างจริงจังเด็ดขาด
เป็นความจริงที่ประเสริฐยอดเยี่ยมในวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ด้วยอาการที่ก้าวขึ้นสู่ มัคควิถี
อันเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร
มีมโนทวาราวัชชนจิตเป็นจิตนำวิถีเป็นดวงแรก
เกิดขึ้นขณะหนึ่ง
เพื่อเป็นปัจจัยให้เกิดชวนจิต
ต่อจากนั้น ถ้าเป็นมันทบุคคล
ผู้มีปัญญารู้ช้า
ชวนจิตดวงที่
๑ ก็เกิดขึ้น
เป็นจิตมหากุสลญาณสัมปยุตต
ดวงใดดวงหนึ่งในจำนวน ๔ ดวง
จะเป็นโสมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนาก็ตาม
เห็นรูปนามดับไปๆ เป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา เรียกจิตดวงนี้ว่า บริกรรมชวนะ
ครั้นบริกรรมชวนจิตดับไปแล้ว
ชวนจิตดวงที่
๒ ก็เกิดขึ้น
เป็นอย่างเดียวกับชวนจิตดวงที่
๑ แต่เรียกจิตดวงนี้ว่า อุปจารชวนะ
เมื่ออุปจารชวนจิตดับไปแล้ว
ชวนจิตดวงที่
๓ ก็เกิดขึ้น
เป็นอย่างเดียวกับชวนจิตดวงที่
๒ และดวงที่ ๑ นั้น
เรียกจิตดวงนี้ว่า อนุโลมชวนะ
อนุโลมจิต หรือ อนุโลมชวนจิต
เมื่ออนุโลมจิตดับไปแล้ว
ชวนจิตที่เกิดต่อ ๆ ไปอีก ๔ ขณะ
ก็เป็น โคตรภู มัคค ผล
ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
ชวนจิต
๓ ดวง คือ บริกรรมชวนะ อุปจารชวนะ
และอนุโลมชวนะนี่แหละที่เรียกว่า
อนุโลมญาณ
อนุโลมญาณนี้บ้างก็เรียกว่า
สัจจานุโลมิกญาณ
แปลว่า ญาณที่อนุโลมตามอริยสัจจ
แต่ถ้าโยคีนั้นเป็น
ติกขบุคคล
คือ
ผู้มีปัญญาไว
ก็ไม่มีบริกรรมชวนะ
คงมีแต่อุปจารชวนะ
และอนุโลมชวนะรวม ๒ ขณะ เท่านั้น
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ