ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
อภิญญา
๕
อภิญญา
ที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาทให้เกิด
นั้นมี ๕ ประการ
ดังปรากฏในคาถาสังคหะ คาถาที่ ๑๐
ว่า
๑๐.
อิทฺธิวิธํ
ทิพฺพโสตํ ปรจิตฺตวิชฺชานนา
ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ ทิพฺพจกฺขูติ
ปญฺจธา ฯ
อภิญญา
๕ คือ อิทธิวิธ ทิพพโสต
ปรจิตตวิชชานน
ปุพเพนิวาสานุสสติ ทิพพจักขุ
อธิบาย
อภิญญา
แปลว่า รู้ยิ่ง รู้พิเศษ
ซึ่งมีความหมายในที่นี้ว่า
เป็นญาณที่ประกอบด้วยรูปาวจรปัญจมฌาน
สามารถให้เกิดความรู้อันยิ่งใหญ่
เกิดความรู้พิเศษ
ถึงกับบันดาลให้เกิดสิ่งที่ตนปรารถนาได้
อภิญญา
มี ๒ ประเภท คือ โลกุตตรอภิญญา และ
โลกียอภิญญา
โลกุตตรอภิญญา
มีอย่างเดียว
คือ อาสวักขยญาณ
รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลส อาสวะ
องค์ธรรมได้แก่
ปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตมัคคจิตโดยเฉพาะเท่านั้น
เป็นอภิญญาที่ไม่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท
ส่วน
โลกียอภิญญา
เป็นอภิญญาที่ต้องอาศัย
โลกียจิตคือ รูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท
มี ๕ อย่าง มีชื่อว่า อิทธิวิธะ
ทิพพโสต ปรจิตตวิชชานน
ปุพเพนิวาสานุสสติ ทิพพจักขุ
และมีรายละเอียดแต่ละอย่าง คือ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ