ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
อาทีนวญาณ
อาทีนวญาณ
เป็นญาณที่ ๗ แห่งโสฬสญาณ
เป็นญาณที่ ๔ แห่งวิปัสสนาญาณ ๙
และอยู่ ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
อันเป็นวิสุทธิมัคคลำดับที่ ๖
แห่ง วิสุทธิ ๗
ญาณนี้ได้อารมณ์ต่อเนื่องมาจาก
ภยญาณ ที่เห็นรูปนามเป็นภัย
จึงเกิดปัญญาเห็นว่า รูปนาม
คือสังขารนี้เป็นโทษ
ซึ่งสิ่งใดที่เป็นภัยสิ่งนั้นย่อมเป็นโทษ
นี่เป็นไปอย่างธรรมดาตามธรรมชาติ
การเห็นโทษในที่นี้เห็นถึง ๕
ประการ คือ
๑.
เห็นความเกิดขึ้นของสังขารที่ตนปฏิสนธิมา
ว่าเป็นโทษ
๒.
เห็นความเป็นไปของสังขารในระหว่างที่ตั้งอยู่ในภพ และคติที่ตนได้นั้น
ว่าล้วนแต่เป็นโทษ
๓.
เห็นกรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้นมานั้นเป็นโทษ
มิใช่คุณ
๔.
เห็นความเสื่อมความสิ้นไปของสังขาร
ว่าเป็นโทษ
๕.
เห็นว่าการที่จะต้องไปเกิดอีกนั้น
เป็นโทษ
ด้วยอำนาจของปัญญาที่ค่อย
ๆ แก่กล้าขึ้นมาเป็นลำดับ
จึงทำให้เห็นว่า
รูปนามสังขารนี้เป็นโทษ
เป็นสิ่งที่ร้ายที่ชั่ว
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีเลย
แม้แต่ สติ และปัญญา
ที่ทำให้เห็นเช่นว่านี้
ก็ยังถือว่า ญาณคือปัญญา
ก็เพียงสักแต่ว่ารู้
สติที่ระลึกก็เพียงแต่อาศัยระลึก
ไม่อิงอาศัย ตัณหา
ความอยาก ไม่อิงอาศัย ทิฏฐิ
ความเห็นผิด
มาปรุงแต่งให้เกิดความยินดีในสติปัญญาที่ทำให้รู้แจ้งถึงปานนี้
ไม่ถือว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสังขารนี้เป็นคุณเลย
ล้วนแต่เป็นโทษทั้งนั้น
เมื่อเห็นโทษของสังขาร
ก็ทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาว่า
ถ้าไม่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ไม่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ
ไม่มีรูปนาม ไม่มีสังขารเลย
ก็จะปลอดภัย ไม่มีโทษ
ปัญญาที่คิดจะให้พ้นจากทุกข์โทษภัยทั้งหลายนี้แหละ
คือ อาทีนวญาณ
เป็นปัญญาที่ริเริ่มจะให้พ้นทุกข์
บ่ายหน้าไปหาสันติสุข
น้อมใจไปสู่พระนิพพาน
ซึ่งจะไม่ต้องกลับมาวนเวียนในสังสารวัฏฏอีก
อารมณ์ของอาทีนวญาณนี้
จึงแยกได้เป็น ๒ นัย
นัยหนึ่งเห็นโทษของสังขาร
อันเป็นธรรมในสังสารวัฏฏ
อีกนัยหนึ่งเห็นคุณของพระนิพพาน
อันเป็นธรรมที่พ้นจากสังสารวัฏฏ
อารมณ์ทั้ง ๒
นี้จะว่าต่างกันเป็นข้าศึกกันก็ได้
เพราะเมื่อเห็นโทษของสังขารมากเท่าใด
ก็พอใจในการที่จะพ้นโทษมากเท่านั้น
หรือเห็นคุณในการพ้นโทษมากเท่าใด
ก็ยิ่งมีความอยากที่จะจากสังขารที่มีโทษมากเท่านั้น
แต่จะว่าอารมณ์ทั้ง ๒
นี้เหมือนกันและช่วยอุปการะแก่กันก็ได้
เพราะความมุ่งหมายของอารมณ์ทั้ง
๒ นี้
มุ่งไปสู่ความพ้นจากสังสารวัฏฏเหมือนกัน
และต่างก็เป็นปัจจัยอุปการะให้เกิดปัญญาแก่กล้า
จนนำออกจากสังสารวัฏฏได้เช่นเดียวกัน
ที่คิดจะพ้นทุกข์
ก็เพราะเห็นทุกข์เห็นโทษของสังขาร
ถ้าหากว่ายังเห็นสังขารรูปนามทั้งหลายเป็นของดี
เป็นของสวยงาม เป็นของเที่ยง
เป็นสุข เป็นตัวตนอยู่
ก็จะติดอยู่ในตัณหา
ติดอยู่ในกองทุกข์
ซึ่งจะนำไปสู่สังสารทุกข์อีกไม่มีที่สิ้นสุด
จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อใช้ปัญญาพิจารณาทุกข์ให้เห็นทุกข์
แล้วอาศัยทุกข์นั้นแหละไต่ไปตามความทุกข์
ไม่ใช่เพ่งสุข อาศัยสุข
ดำเนินไปตามทางที่สุขสบาย
ซึ่งกลับจะติดแน่นอยู่ในสุข
ไม่มีวันที่จะพ้นทุกข์ไปได้เลย
อาทีนวญาณ
ปัญญาที่เห็นว่ารูปนามนี้ล้วนแต่เป็นโทษนั้น
สามารถละ อัสสาทสัญญา
สัญญาที่ชื่นชมยินดีนั้นได้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ