ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
๗.
สัจจบารมี
วิรตีเจตนาทิเภทํ
อวิสํวาทนํ สจฺจปารมิตา ฯ
(จริยปิฎกอรรถกถา)
บรรดาเจตนาอันมีวิรตีเจตนาเป็นต้นที่ไม่คดโกงนั้น
เรียกว่า
สัจจบารมี
วิรตี
แปลว่า การงดเว้น วัตถุที่เว้นมี
๓ คือ
มิจฉาวาจาวิรตี
เว้นจากวจีทุจจริต ๔ มี มุสา
พูดปด,
ปิสุณา
พูดส่อเสียด,
ผรุสวาจา
พูดหยาบคาย และ สัมผัปปลาป
พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
มิจฉากัมมันตวิรตี
เว้นจากกายทุจจริต ๓ มี ปาณา
ฆ่าสัตว์,
อทินนา
ลักทรัพย์,
และกาเม
ล่วงประเวณี
มิจฉาอาชีววิรตี
เว้นจากมีความเป็นอยู่ด้วยวาจาทุจจริต
๔ กายทุจจริต ๓
อาการที่งดเว้น
ก็มี ๓ คือ
สัมปัตตวิรตี
เว้นจากความชั่วในขณะที่มีอารมณ์
อันพึงจะล่วงมาปรากฏเฉพาะหน้า
สมาทานวิรตี
เว้นจากความชั่วโดยตั้งปณิธาน
ตั้งความปรารถนา
ไว้เป็นเครื่องสำนึก
เป็นเครื่องเตือนใจ
จะสมาทานกับพระสงฆ์ พระพุทธรูป
ต้นโพธิ์
หรือแม้แต่กับตัวเองก็ได้
สมุจเฉทวิรตี
เว้นจากการตัดกิเลสได้อย่างเด็ดขาด
ด้วยอำนาจแห่งปัญญาในมัคคจิต
วิรตีเจตสิก
ที่ไม่คดโกงนั้น มีความหมายว่า
ซื่อตรงต่อความตั้งใจในอันที่จะเว้นกล่าววาจาชั่ว
เว้นกระทำชั่วและเว้นความเป็นอยู่อย่างชั่ว
ๆ
ความซื่อตรงต่อความตั้งใจเว้นสิ่งชั่ว
ๆ ดังกล่าวนี่แหละ เรียกว่า
สัจจบารมี
ผู้ใดขัดสน
ขาดทรัพย์สมบัติ
ผู้นั้นย่อมรักษาสัจจะได้ยาก
ส่วนผู้ที่มีทรัพย์
ย่อมสะดวกในการที่จะบำเพ็ญสัจจบารมี
จะเป็นผู้ที่มีทรัพย์
ก็ต้องเป็นผู้ที่ได้เคยสร้างสมทานบารมีมาแต่ปางก่อน
กล่าวแต่เพียงเท่านี้ก็พอจะเห็นได้แล้วว่า
ทาน ก็เป็นปัจจัยแก่ สัจจะ
อวิสํวาทนลกฺขณา
สจฺจปารมี ฯ
(จริยปิฎกอรรถกถา)
สัจจบารมี
ย่อมมีความไม่คดโกง เป็นลักษณะ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ