ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
ปฏิสัมภิทาญาณ
๔ ประการ
ปฏิสัมภิทาญาณ
หมายความว่า
ถึงพร้อมด้วยความรู้อันแตกฉาน
จึงแปลกันสั้น ๆ ว่า ปัญญาแตกฉาน
ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะ
ไม่สามารถที่จะมีปฏิสัมภิทาญาณเลย
พระอริยบุคคลนับแต่พระโสดาบันเป็นต้นไปเป็นบางองค์
เฉพาะที่ได้สร้างสมบุญบารมีมาแต่ชาติปางก่อนเป็นอันมากเท่านั้นจึงจะมีปฏิสัมภิทาญาณนี้ได้
บางองค์ก็มีครบทั้ง ๔ ประการ
บ้างก็มีเพียง ๑ หรือ ๒ เท่านั้น
แต่ส่วนมากพระอริยะที่ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณนั้นมากกว่าที่มี ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ประการ คือ
๑.
อตฺถปฏิสมฺภิทาญาณ
ปัญญาแตกฉานในผลทั้งปวงอันบังเกิดมาจากเหตุ
อัตถะ หรือ ผล นั้น ได้แก่ ธรรม ๕
ประการ คือ
ก.
ยํ
กิญฺจิ ปจฺจยสมฺภูตํ
คือ
รูปธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยประชุมปรุงแต่ง
ข.
ภาสิตตฺโถ
คือ
อรรถที่กล่าวแก้ให้แจ้งในโลกียวิบากจิต
๓๒ ดวง
ค.
กิริยาจิตฺตํ
คือ กิริยาจิต ซึ่งมี ๒๐ ดวง
ง.
ผลจิตฺตํ
คือ ผลจิต ซึ่งมี ๔ ดวง
จ.
นิพฺพานํ
คือ พระนิพพาน
๒.
ธมฺมปฏิสมฺภิทาญาณ
ปัญญาแตกฉานในเหตุที่ทำให้บังเกิดผลธรรม
หรือ เหตุ นั้นได้แก่ ธรรม ๕
ประการ คือ
ก.
โย
โกจิ ผลนิพฺพตฺตโกเหตุ คือ
เหตุทั้งปวงบรรดาที่ยังผลให้เกิดขึ้น
ข.
ภาสิตํ
คือ พระธรรมทั้ง ๓ ปิฎก
ค.
อกุสลจิตฺตํ
คือ อกุสลจิต ซึ่งมี ๑๒ ดวง
ง.
กุสลจิตฺตํ
คือ โลกียกุสลจิต ซึ่งมี ๑๗ ดวง
จ.
อริยมคฺโค
คือ มัคคจิต ซึ่งมี ๔ ดวง
๓.
นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาญาณ
ปัญญาแตกฉานในภาษา คือ
บัญญัติแห่งอัตถปฏิสัมภิทา
และธัมมปฏิสัมภิทา
ย่อมมีด้วยนิรุตติใด
ความรู้แตกฉานในอันกล่าวนิรุตตินั้น
ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
หมายความว่า
รู้จักใช้ถ้อยคำในภาษานั้น ๆ
อันเป็นบัญญัติที่เรียกกันว่า
โวหาร
ในการอธิบายขยายความแห่งอัตถปฏิสัมภิทา
และธัมมปฏิสัมภิทา
ให้ผู้สดับตรับฟังรู้และเข้าใจได้แจ่มแจ้งลึกซึ้งโดยถ้วนถี่เช่นนี้
เป็นต้น
๔.
ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาญาณ
ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ คือ
มีปัญญาว่องไว ไหวพริบเฉียบแหลม
คมคาย ในการโต้ตอบ
อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา
และนิรุตติปฏิสัมภิทา ทั้ง ๓ นั้น
ได้อย่างถูกต้อง
คล่องแคล่วชัดแจ้งโดยฉับพลันทันที
ความรู้แตกฉานเช่นนี้แหละที่ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ