ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
การเจริญอนุสสติกัมมัฏฐาน
อนุสสติ
๑๐ เจริญให้ถึงฌานได้เพียง ๒ คือ
กายคตาสติ ๑ และ อานาปาณสติ ๑
ดังได้กล่าวแต่ตอนต้นมาครั้งหนึ่งแล้ว
๑.
การเจริญ
กายคตาสติ เป็นการกำหนดพิจารณากาย
ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ประชุมกันด้วยโกฏฐาส
๓๒ หรือ อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง เป็นต้น
โกฏฐาส
๓๒ คือ อาการ ๓๒ นั้น แบ่งเป็น ๖
หมวด แต่ละหมวดได้แก่อะไรบ้าง
มีรายละเอียดแจ้งในคู่มือปริจเฉทที่
๖ ตอนมหาภูตรูป ตรงปฐวีธาตุ มี ๔
หมวดเป็นอาการ ๒๐,
ตรงอาโปธาตุ
มี ๒ หมวด เป็นอาการ ๑๒ นั้นแล้ว
ขอให้ดูที่นั่นด้วย
(อาการ
๒๐ มี
ผม,
ขน,
เล็บ,
ฟัน,
หนัง,
เนื้อ,
เอ็น,
กระดูก,
เยื่อในกระดูก,
ม้าม,
หัวใจ,
ตับ,
พังผืด,
ไต,
ปอด,
ใส้ใหญ่,
ใส้น้อย,
อาหารใหม่,
อาหารเก่า,
มันสมอง
อาการ
๑๒
มี ดี,
เสมหะ,
หนอง,
เลือด,
เหงื่อ,
มันข้น,
น้ำตา,
มันเหลว,
น้ำลาย,
น้ำมูก,
ไขข้อ,
น้ำมูตร)
๒.
โกฏฐาส
๓๒ นี้
ถ้าพิจารณาโดยความเป็นธาตุ
ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน
วิปัสสนาภาวนา
แต่ถ้าพิจารณาโดยความเป็นบัญญัติ
โดยความเป็นสิ่งปฏิกูล
ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน สมถภาวนา
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสมถภาวนาเท่านั้น
๓.
ในชั้นต้นให้พึงท่องจำโกฏฐาส
๓๒ นี้เป็นหมวด ๆ ไป
และแต่ละหมวดก็ให้คล่องทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม
กลับไปกลับมาจนขึ้นใจ
แล้วจึงพิจารณาในอาการ ๓๒
นั้นเป็น ๕ นัย คือ
ข.
พิจารณาโดย
สัณฐาน ว่าเป็นของปฏิกูล
ค.
พิจารณาโดย
ทิศ
ว่าตั้งอยู่เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำ
ง.
พิจารณาโดย
โอกาส ว่าตั้งอยู่ตรงไหน
จ.
พิจารณาโดย
ปริจเฉท ว่าไม่ปะปนกับส่วนอื่น
๔.
พิจารณาอาการ
๓๒ แต่ละอาการโดยนัยทั้ง ๕ นั้น
ตามลำดับไปทุกอาการ
บางอาการก็จะเห็นได้ชัด
บางอาการก็จะเห็นไม่ชัด
ที่ไม่ชัดก็ให้ละไป
จนเหลืออาการที่ชัดที่สุดแต่อาการเดียว
ให้กำหนดอาการที่ชัดนี้เป็นบริกรรมนิมิต
บริกรรมภาวนาไปจนกว่า
อุคคหนิมิต
ปฏิภาคนิมิตจะปรากฏขึ้น
ซึ่งเป็น อุปจารภาวนา
และอัปปนาภาวนา คือถึง ปฐมฌาน
๕.
กายคตาสตินี้
เป็นกัมมัฏฐานในการเจริญสมถภาวนาได้เพียงปฐมฌานเท่านั้นเพราะโกฏฐาสต่าง
ๆ ในร่างกายมนุษย์
ล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูล
น่าเกลียด
จึงต้องอาศัยวิตกเป็นหลักคอยค้ำจุนหนุนจิตให้ยกขึ้นสู่อารมณ์นั้น
ๆ ทำนองเดียวกับ
อสุภกัมมัฏฐานที่กล่าวแล้วข้างต้น
ขอให้ทบทวนดูที่นั่นด้วย
๖.
การเจริญอานาปาณสติ
คือการกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
ซึ่งดู ๆ
ก็ไม่น่าจะยากเย็นอะไรเลย
แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้สะดวกสบายนัก
เพราะอาจเผลอตัว
ไม่มีความรู้สึกตัว
คือขาดสติสัมปชัญญะได้ง่าย
จริงอยู่การเจริญภาวนาไม่ว่าจะอาศัยกัมมัฏฐานใดๆ
จะต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
ขาดสติสัมปชัญญะ คือ
เผลอตัวเมื่อใดเมื่อนั้นก็ขาดจากการเจริญภาวนา
จะเรียกว่าเป็นการเจริญภาวนาหาได้ไม่
โดยเฉพาะการกำหนดลมหายใจนี้
ลมหายใจยิ่งละเอียดสุขุมมากเท่าใด
ก็ยิ่งเผลอตัวได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น
เผลอตัวได้ง่ายกว่ากัมมัฏฐานอย่างอื่น
เหตุนี้ในวิสุทธิมัคคจึงกล่าวว่า
การเจริญอานาปาณสตินี้
เหมาะสมแก่ผู้ที่มีปัญญากล้า
และเฉียบแหลม
หาควรแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อยไม่
๗.
สถานที่ที่จะเจริญอานาปาณสติกัมมัฏฐานนั้น
ถ้าเลือกได้สถานที่ดังจะกล่าวต่อไปนี้ก็จะเป็นที่สะดวกดีมาก
คือ
ก.
เสนาสนะในป่าที่สงัด
เหมาะแก่ฤดูร้อน
เหมาะแก่ผู้ที่มีโมหจริต
เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่
เสมหะ
ข.
เสนาสนะที่อยู่โคนต้นไม้
หมายถึงใต้ร่มไม้ใหญ่ที่เงียบเชียบ
เหมาะแก่ฤดูหนาว
เหมาะแก่ผู้ที่มีโทสจริต
เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่น้ำดี
ค.
เสนาสนะที่เป็นเรือนว่าง
ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย
อยู่ในที่วิเวก เหมาะแก่ฤดูฝน
เหมาะแก่ผู้ที่มีราคจริต
เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ธาตุ
๘.
การกำหนดลมหายใจนี้
จำแนกไว้เป็น ๔ หมวด
แต่ละหมวดก็มี ๔ นัย จึงรวมเป็น
๑๖ นัยด้วยกัน
หมวดที่
๑
ก.
กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น
หายใจออกยาวและเข้ายาว
ข.
กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น
หายใจออกสั้นและเข้าสั้น
ค.
กำหนดให้รู้ในกองลมทั้งปวงในเวลาหายใจออกและเข้า
คือให้รู้ว่าเบื้องต้น
ของลมหายใจออกนั้นอยู่เหนือสะดือ
เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก
เบื้องปลายอยู่ที่ช่องจมูก
และเบื้องต้นของลมหายใจเข้านั้นอยู่ที่ช่องจมูก
เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก
เบื้องปลายอยู่ที่เหนือสะดือ
จะรู้ได้ต่อเมื่อตั้งใจกำหนดอย่างแน่แน่ว
ง.
ให้รู้ในกายสังขาร
คือ ลมหายใจออก
ลมหายใจเข้าที่สงบ
คือการหายใจนั้นแผ่ว เบา ละเอียด
ยิ่งขึ้นทุกที
ถ้าไม่ตั้งใจกำหนดอย่างจริงจังก็จะเผลอไม่รู้สึกตัว
หมวดที่
๒
ก.
กำหนดให้รู้แจ้ง
ปีติในเวลาหายใจออกและเข้า
หมายความว่า กำหนดตามหมวดที่ ๑
จนได้ฌานแล้ว มีวสีภาวะทั้ง ๕
แล้ว ก็ให้ยกองค์ฌาน คือ
ปีตินั้นเพ่งโดยวิปัสสนาภาวนาจนเห็นปีติในลักษณะ
๓ คือ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา
ที่ให้เพ่ง
ปีติ เพราะผู้ที่ได้ฌานต้น ๆ นั้น
ปีติ
มักจะปรากฏเด่นชัดกว่าองค์ฌานอื่น
ข.
กำหนดให้รู้แจ้ง
สุขเวทนา ในเวลาหายใจออกและเข้า
มีความหมายว่า
ผู้ที่ได้ทุติยฌาน ตติยฌาน หรือ
จตุตถฌานนั้น
ความสุขในองค์ฌานย่อมปรากฏชัด
จึงกำหนดให้รู้แจ้ง สุขเวทนา
ในเวลาหายใจออกและเข้าได้สะดวก
ค.
กำหนดให้แจ้งใน
จิตตสังขาร คือ เวทนา สัญญา
ในเวลาหายใจออกและเข้า
ง.
กำหนดให้แจ้งในการยังจิตตสังขารให้สงบ
ในเวลาหายใจออกและเข้า
ซึ่งผู้ที่ได้ฌานใด ๆ
ก็สามารถกำหนดรู้ได้
หมวดที่
๓
ก.
กำหนดให้แจ้งในจิต
ในเวลาหายใจออกและเข้า
คือให้รู้จิตที่เป็นไปด้วยรูปฌานทั้ง
๕
ข.
กำหนดให้แจ้งในความบันเทิงของจิต
ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง
ปีติ ที่ประกอบด้วยฌานนั้น ๆ
ค.
กำหนดให้แจ้งในจิตที่เป็นสมาธิ
ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายทั้ง
ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ
และอัปปนาสมาธิ
ง.
กำหนดให้แจ้งในความพ้นของจิต
ในเวลาหายใจออกและเข้า
หมายถึงความพ้นทั้ง ๒ อย่าง
คือพ้นด้วยสมาธิ ก็พ้นจากนิวรณ์
๕ หรือพ้นจาก วิตก วิจาร
ปีติตามลำดับขององค์ฌาน
ถ้าพ้นด้วยวิปัสสนาก็พ้นจากวิปัลลาสธรรม
มีนิจจสัญญา เป็นต้น
หมวดที่
๔
ก.
กำหนดตามเห็นอนิจจัง
ในเวลาหายใจออกและเข้า
หมายถึงตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปขันธ์
ในเวทนาขันธ์ ในสัญญาขันธ์
ในสังขารขันธ์ และในวิญญาณขันธ์
ข.
กำหนดตามเห็นวิราคะ
ในเวลาหายใจออกและเข้า
หมายถึงพ้นจากราคะด้วยอำนาจของวิปัสสนา
หรือด้วยมัคคจิต ๔ ความพ้นทั้ง ๒
นี้เรียกว่า วิราคานุปัสสนา
ค.
กำหนดตามเห็นความดับ
ในเวลาหายใจออกและเข้า
หมายถึงความดับของทุกข์ สมุทัย
หรือความดับของ วยะ ขยะ คือ
ความดับสิ้นไปของสังขารนั้น
ง.
กำหนดตามเห็น ความสละในการยึดมั่น
ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง
ละการยึดถือด้วยอุปาทาน
มีอัตตวาทุปาทาน เป็นต้น
ด้วยอำนาจของวิปัสสนา
ในอานาปาณสติ
๑๖ นัยนี้ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึง ๓
รวม ๑๒
นัยนั้นกล่าวรวมทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วย
ส่วนในหมวดที่ ๔ นั้น
กล่าวเฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว
หมวดที่
๑ สงเคราะห์ด้วยปฐมฌาน
และสงเคราะห์ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หมวดที่
๒
สงเคราะห์ด้วยปฐมฌานถึงจตุตถฌาน
และสงเคราะห์ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หมวดที่
๓ สงเคราะห์ด้วยฌานทั้ง ๕
และสงเคราะห์ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หมวดที่
๔ กล่าวเฉพาะ วิปัสสนา
๙.
อานาปาณสตินี้
เป็นกัมมัฏฐานที่สามารถเจริญสมถภาวนา
ให้ถึงได้ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปตามลำดับจนถึงปัญจมฌาน
๑๐.
อนุสสติ
๑๐ นั้นได้กล่าวมาแล้ว ๒
เพราะที่สามารถเข้าถึงฌานได้
คือ กายคตาสติ ๑ และอานาปาณสติ ๑
ส่วนที่เหลืออีก
๘ ไม่สามารถเข้าถึงฌานได้
ก.
พุทธานุสสติ
ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ
เทวตานุสสติ และอุปสมานุสสติ
รวมอนุสสติ ๗
นี้ไม่สามารถเข้าถึงฌานได้
เพราะเหตุว่า
เป็นอารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้งมาก
และเป็นอารมณ์ที่กว้างขวางมาก
ข.
มรณานุสสติอีก
๑ นั้น
นอกจากเป็นอารมณ์ที่ลึกซึ้งมากแล้ว
ยังเป็นอารมณ์ปรมัตถอีกด้วย
สมถภาวนาไม่สามารถจับอารมณ์ปรมัตถได้
เว้นแต่อากาสานัญจายตนกุสล ๑
กิริยา ๑ และอากิญจัญญายตนกุสล ๑
กิริยา ๑ รวมจิต ๔ ดวงนี้เท่านั้น
จึงจะเป็นอารมณ์ที่สามารถให้ถึงฌานได้
นอกจากนี้ต้องเป็นอารมณ์บัญญัติจึงจะถึงฌาน
อนึ่ง
มรณานุสสติ
การระลึกถึงความตายที่จะพึงมาถึงตนนั้น
ก็เพื่อให้เกิดความสลดใจ
แต่ว่าถ้าไม่มีความแยบคายในการระลึกแล้วอาจเป็นโทษ
เช่นนึกถึงความตายของผู้ที่เรารักใคร่
ย่อมเกิดความโศกเศร้า
นึกถึงความตายของผู้ที่เราเกลียด
ย่อมเกิดความชอบใจ
ครั้นมานึกถึงความตายของตนเอง
ก็จะเกิดความกลัว
ทำให้จิตใจหวาดหวั่นไป
เหตุนี้จึงมีข้อแสดงว่า
การระลึกถึงความตาย
ต้องนึกด้วยความแยบคาย โดยอาการ
๘ นัย คือ
(๑)
ความตายนี้เปรียบดังเพชฌฆาตที่จ้องจะประหารอยู่เป็นนิจ
แม้ตัวเราก็ถูกจ้อง
อยู่ตลอดเวลา
(๒)
ความตายนี้ย่อมเข้าถึง
ความฉิบหาย วิบัติ พลัดพราก
จากทรัพย์สมบัติ ลาภยศ
ญาติพี่น้อง
ซึ่งเราก็จะเป็นเช่นนี้เข้าสักวันหนึ่ง
(๓)
ความตายนี้ไม่เห็นแก่หน้าไม่เลือกบุคคล
ไม่ว่าจะเป็นผู้มีบุญ มีอำนาจ
มีทรัพย์ มียศ มีปัญญา
ก็ตายไปแล้วมากกว่ามาก
เราเองก็จะต้องตายแน่
(๔)
ความตายมีอยู่ทั่วกายในอวัยวะทุกส่วน
แม้หมู่สัตว์ที่อยู่ภายนอก
และที่อาศัยเบียดเบียนอยู่ภายในร่างกาย
ก็สามารถทำให้ตายได้ทุกเมื่อ
เราก็ไม่พ้นอย่างนี้ไปได้
(๕)
อายุนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถาวรแข็งแรง
เป็นของทุพพลภาพ
ที่ยังคงดำรงอยู่ได้
ก็อาศัยอยู่ได้ด้วยธรรมทั้ง ๔
คือ ลมหายใจ,
อิริยาบถทั้ง
๔,
ความร้อนความเย็น
และอาหาร หากธรรมทั้ง ๔
นี้แม้แต่เพียงอย่างเดียวไม่เป็นไปตามปกติ
เราก็จะตายเป็นแน่นอน
(๖)
ระลึกว่า
ความตายนี้ไม่มีนิมิต
ไม่มีเครื่องหมายแต่อย่างใดเลย
นิมิตนั้นมี ๕ อย่าง คือ
ก.
ชีวิตํ
ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า
ชีวิตนี้จะอยู่นานสักปานใดจึงจะตาย
ข.
พยาธิ
ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า
จะตายด้วยโรคอะไร
ค.
กาโล
ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า
จะตายเวลาไหน
ง.
เทหนิกฺเขปนํ
ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า
จะตายที่ตรงไหน
จ.
คติ
ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า
เมื่อตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไรที่ไหน
(๗)
ระลึกว่าอายุของมนุษย์นี้น้อยนัก
อย่างมากไม่ใคร่ถึง ๑๐๐ ปี
ก็จะต้องตายไปแล้ว
จึงควรทำความดี ประกอบการกุสล
ประพฤติพรหมจรรย์
ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท
เพราะความตายจักมาถึงเราในบัดนี้ก็ได้
(๘)
ระลึกว่า
ชีวิตนี้ เป็นอยู่ มีอยู่ คงอยู่
ชั่วขณะนิดเดียว
กล่าวโดยทางปรมัตถ
ก็ปรากฏอยู่ชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้นเอง
เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ได้ชื่อว่า
สัตว์เกิดแล้ว จิตตั้งอยู่
ก็ได้ชื่อว่าสัตว์นั้นเป็นอยู่
และเมื่อจิตดับไป
จิตไม่เกิดสืบต่อไปอีกในภพนี้
ก็ได้ชื่อว่า
สัตว์นั้นตายเสียแล้ว
พึงระลึกถึงความตาย
โดยความแยบคายตามนัยแห่งอาการ ๘
อย่างนี้
อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม
ก็จะเป็นที่ตั้งแห่งความสลด
เป็นเหตุให้เบื่อหน่าย
ไม่ยินดีในภพ
ปราศจากความตระหนี่
เบิกบานในการบริจาคทาน
มีการขวนขวายน้อย
มีความเป็นอยู่โดยความไม่ประมาทตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรในกุสลกรรม
ไม่หวาดหวั่นต่อความตาย
และไม่งมงายในเวลาตายด้วย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ