ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์ คือลักษณะ ๓ ประการที่บรรดารูปธรรมนามธรรมที่เป็นสังขารทั้งหลาย จะต้องมี ต้องเป็นไปเหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น เหตุนี้จึงเรียกว่า สามัญญ ลักษณะก็ได้ เพราะเป็นลักษณะที่เป็นธรรมดาตามธรรมชาติแห่งสังขารทั้งหลายที่จะต้องมีอันเป็นไปอย่างนี้ มีอาการอย่างนี้ มีคาถาที่ ๑๕ แสดงว่า

๑๕. อนิจฺจลกฺขณํ ทุกข ลกฺขณํ กมโต ฐิตํ อนตฺตลกฺขณญฺเจติ ตีเณว ลกฺขณานิ จ ฯ

ก็อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ พึงตั้งอยู่แล้วโดยลำดับแห่งลักษณะ ๓ ดังที่กล่าวนี้นั่นเทียว

มีความหมายว่า อนิจจลักษณะ มีลักษณะหรือมีอาการที่ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล โดยมีความเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปในที่สุด (อุปฺปาทวย ปวตฺตน), โดยความแปรปรวน (วิปริณาม), โดยเป็นของชั่วคราว (ตาวกาลิก), โดยต้านกับความเที่ยง (นิจฺจปฏิกฺเขป)

ทุกขลักษณะ มีลักษณะหรือมีอาการที่ทนอยู่ไม่ได้ จำต้องเสื่อมสลายสิ้นไป, โดยความบีบคั้นอยู่เสมอ (อภิญฺหสมฺปฏิปฬน), โดยความทนได้ยาก (ทุกฺขม), โดยเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ (ทุกฺขวตฺถ), โดยต้านกับความสุข (สุขปฏิกฺเขป)

อนัตตลักษณะ มีลักษณะหรือมีอาการที่ว่างเปล่าจากตัวตน ที่ไม่ใช่ตัวตน จึงบังคับบัญชาไม่ได้ จะให้เป็นไปตามที่ใจปรารถนาก็ไม่ได้ โดยความเป็นของสูญ (ว่างเปล่า สุญฺญต), โดยความไม่มีเจ้าของ (อสฺสามิก), โดยไม่มีสิ่งอะไรที่จะพึงทำตาม (อวสวตฺตน), โดยค้านกับอัตตา (อตฺตปฏิกฺเขป)

ไตรลักษณ์นี้เป็นลักษณะสามัญตามธรรมดาที่ธรรมชาติแห่งรูปนามที่เป็นสังขารทั้งหลายจะต้องเป็นไปอย่างนี้นั่นเทียว ถ้ากล่าวโดยพิสดารแล้ว อนิจจะมีลักษณะ ๑๐ ประการ ทุกขะมีลักษณะ ๒๕ ประการ อนัตตะ มีลักษณะ ๕ ประการ รวมเป็น ๔๐ ประการ เมื่อปรับเข้ากับขันธ์ ๕ ก็เป็นไตรลักษณ์ ถึง ๒๐๐ ประการ คือ รูปขันธ์ ๔๐ ประการ เวทนาขันธ์ ๔๐ ประการ สัญญาขันธ์ ๔๐ ประการ สังขารขันธ์ ๔๐ ประการ และวิญญาณขันธ์ ๔๐ ประการ รวมเป็น ๒๐๐ ประการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...