ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
มัคคญาณ
๓๒.
ตสฺเสวนนฺตรํ
มคฺโค จตุสจฺจตฺถ สาธโก ทุกฺขสจฺจ
ปริชานํ ชหํ ทุกฺขสโมทยํ ฯ
๓๓.
สจฺฉิ
กุพฺพนฺโต นิโรธํ ตณฺหุ ปจฺเฉทนํ
ปทํ มคฺค สจฺจ วิภาวาย อปฺเปติ
อปฺปนุตฺตมํ ฯ
ในลำดับแห่งโคตรภูจิตนั่นแหละ
อริยมัคคจึงยังอรรถแห่งอริยสัจจ
๔ ให้สำเร็จ กำหนดรู้ทุกขสัจจ ๑
ละสมุทยสัจจ ๑ กระทำนิโรธสัจจ (อันเป็นธรรมเครื่องถึงความเข้าไปตัดตัณหา)ให้แจ้ง
๑ ย่อมถึงซึ่ง อัปปนาวิถี
อันอุดมด้วยการเจริญ มัคคสัจจ ๑
อธิบายว่า
มัคคญาณเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นในจิตที่มีชื่อว่ามัคคจิต
ซึ่งเกิดต่อจากโคตรภู
โดยอาศัยได้ปัจจัยจากโคตรภูจิต
ดังที่ได้กล่าวแล้วในโคตรภูญาณข้างต้นนี้
มัคคญาณ
มีนิพพานเป็นอารมณ์เช่นเดียวกับโคตรภูญาณ
แต่จิตเป็นโลกุตตร จิต
เพราะออกจากกิเลส พ้นจากกิเลส
เหตุนี้มัคคญาณ จึงได้ชื่อว่า อุภโตวุฏฐาน
แปลว่า ออกทั้ง ๒ ข้าง คือ
ออกจากอารมณ์ที่เป็นโลกีย
และออกจากกิเลสด้วย
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปริวัฏฏ ๓
หมุนรอบทั้ง ๑๒
ประการในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ คือ
๑.
ทุกขสัจจ
ได้แก่ รูปนามอันเป็นตัวทุกข์
ก็ได้กำหนดจนแจ้งว่า
ทุกข์นี้มีอยู่จริง (สัจจญาณ),
ทุกข์นี้ควรกำหนดรู้(กิจจญาณ)
และได้ทำการกำหนดจนรู้แจ้งในทุกข์แลัว
(กตญาณ)
๒.
สมุทยสัจจ
ได้แก่ ตัณหา
อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ก็ได้กำหนดจนแจ้งว่า
ตัณหานี้มีอยู่จริง
ตัณหานี้ควรละ
และได้ทำการละตัณหาแล้ว
๓.
นิโรธสัจจ
ได้แก่ นิพพาน
ซึ่งเป็นความดับสิ้นแห่งทุกข์
ก็ได้กำหนดจนแจ้งแล้วว่า
ความดับสิ้นแห่งทุกข์นี้มีจริง
ธรรมที่ดับสิ้นแห่งทุกข์นี้ควรทำให้แจ้ง
และได้ทำการจนแจ้งในความดับสิ้นแห่งทุกข์แล้ว
๔.
มัคคสัจจ
ได้แก่
อัฏฐังคิกอริยมัคค คือ
อริยมัคคมีองค์ ๘
ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับสิ้นแห่งทุกข์นั้น
ก็ได้กำหนดจนแจ้งแล้วว่า
ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับสิ้นแห่งทุกข์นั้นมีจริง
เป็นธรรมที่ควรเจริญ
และก็ได้ดำเนินการจนเจริญเป็น
สมังคี คือ
พร้อมเพรียงกันเป็นอันดีแล้ว
ปริวัฏฏ
๓ หมุนรอบทั้ง ๑๒ ประการนี้
ได้กล่าวมาแล้วในคู่มือปริจเฉทที่
๗ นั้น
ขอให้ดูทบทวนประกอบอีกด้วย
กล่าวอีกนัยหนึ่ง
มัคคญาณ คือ มัคคจิตนี้ มีกิจ ๔
ประการ ได้แก่
ปริญญากิจ
สามารถรู้ทุกขสัจจ
ปหานกิจ
สามารถประหาณ
สมุทยสัจจ
สัจฉิกิริยกิจ สามารถเห็น
นิโรธสัจจ และ
ภาวนากิจ
สามารถเจริญอัฏฐังคิกมัคคจนเป็นสมังคี
กิจ ๔ ประการนี้
มีข้ออุปมาว่าเหมือนประทีป
ซึ่งทำกิจ ๔ อย่างเหมือนกัน คือ
ทำให้ไส้ไหม้ ประหาณความมืด
แสดงความสว่าง
และทำให้น้ำมันหมด
มัคคญาณ
ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้เรียกว่า
ปฐมมัคค
หรือ โสดาปัตติมัคคญาณ
เป็นมัคคจิตดวงแรกที่เพิ่งเกิดขึ้นในสังสารวัฏฏของบุคคลนั้น
และจะไม่เกิดซ้ำขึ้นอีกเลยจนกระทั่งดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน
แม้มัคคจิตจะเกิดเพียงขณะเดียว
ก็สามารถประหาณกิเลสชนิดที่นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดานที่เรียกว่า
อนุสยกิเลสได้เป็นสมุจเฉท
สามารถปิดประตูอบายทั้ง ๔ ได้
ทั้งยังสามารถตัดวัฏฏะให้เกิดในกามสุคติอีกอย่างมากเพียง
๗ ชาติเท่านั้น
ก็ดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน
รายละเอียดได้กล่าวแล้วในคู่มือปริจเฉทที่
๑ นั้น
จึงไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ